กาวซิลิโคนอุดรอยรั่วมีกี่แบบ ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี พร้อมการดูแลหลังซ่อม กาวซิลิโคนอุดรอยรั่วมีกี่แบบ ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี พร้อมการดูแลหลังซ่อม

กาวซิลิโคนอุดรอยรั่วมีกี่แบบ ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี พร้อมการดูแลหลังซ่อม

ใครที่เคยประสบปัญหารอยร้าว รั่ว ซึม ในบ้านอาจคุ้นชินกับคำว่า ‘ยาแนว’ กันอยู่บ้าง เพราะ ‘ยาแนว’ ถือเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างและซ่อมงานหลากหลายประเภทให้เนียน และหนึ่งในยาแนวที่ทุกคนน่าจะเคยได้ยินผ่านหูก็คือ ซิลิโคน โดยอาจเรียกกันว่า ยาแนวซิลิโคน หรือ กาวซิลิโคนอุดรอยรั่วก็ได้ วันนี้ TOA จะพาทุกคนไปรู้จักกับเจ้ากาวตัวนี้กันแบบรู้ลึกรู้จริง จนเลือกใช้งานได้แบบไม่ต้องกังวล

กาวซิลิโคนคืออะไร

กาวซิลิโคน คือ วัสดุประสานที่ทำมาจากสารประกอบประเภทโพลิเมอร์ โดยส่วนประกอบหลักคือ ซิลิคอน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ ที่เป็นสารประกอบประเภทอนินทรีย์ ส่วนประกอบดังกล่าวทำให้กาวชนิดนี้มีความยืดหยุ่นสูงถึง 25% ทั้งยังทนความร้อนสูง ทนรังสียูวี (UV) ทนแรงดัน และทนอุณหภูมิได้อีกด้วย หลังจากแห้งแล้วจะมีผิวที่แข็งและเหนียว กันน้ำและน้ำมันได้ รวมถึงยึดเกาะได้ดี

กาวซิลิโคนใช้ทําอะไร ติดอะไรได้บ้าง

กาวซิลิโคนใช้ทําอะไร ติดอะไรได้บ้าง

กาวซิลิโคนนิยมใช้ในงานประสานอุดรอยรั่ว รอยต่อต่างๆ ทั้งงานในบ้าน และงานอุตสาหกรรม เช่น นิยมใช้กาวซิลิโคนใช้ปิดช่องว่างในชิ้นงาน ปิดรอยร้าว อุดรอยรั่วไม่ว่าจะปูน ผนัง หรือหลังคา ซึมในงานก่อสร้าง ปิดรอยต่อระหว่างอะลูมิเนียมกับกระจก ประสานแผ่นกระจกทำตู้ปลา หรือประสานงานพื้นผิวอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นแก้ว เซรามิก โลหะ พลาสติก คอนกรีต หรืออิฐ เรียกได้ว่ามีหลอดเดียวแต่สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายจุดประสงค์เลยทีเดียว

กาวซิลิโคน TOA มีกี่ประเภท และเลือกใช้แบบไหนดี

กาวซิลิโคน TOA มีกี่ประเภท และเลือกใช้แบบไหนดี

หลังจากรู้จักการใช้งานทั่วไปแล้ว มาทำความรู้จักกับประเภทของกาวซิลิโคนบ้าง เพื่อจะได้เลือกใช้งานได้ตรงใจ มีประสิทธิภาพ และรักษาพื้นผิวได้สูงสุด โดยกาวซิลิโคนที่นิยมนำมาใช้งานมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ กาวซิลิโคนแบบมีกรด และ กาวซิลิโคนแบบไม่มีกรด

กาวซิลิโคนแบบมีกรด

กาวซิลิโคนแบบมีกรด หรือ Acetic Cure Silicone เป็นกาวที่มีกรดและสารระเหยเป็นส่วนประกอบ ทำให้มีความแข็งแรงสูง แห้งเร็ว ยึดเกาะสูง ยืดหยุ่นพอดี ไม่อ่อน ไม่แข็ง โดยเวลาใช้สามารถสังเกตความเฉพาะตัวได้จากกลิ่นเปรี้ยวคล้ายน้ำส้มสายชู

กาวซิลิโคนแบบมีกรดมักระบุข้างหลอดว่าเป็นซิลิโคนแบบ GP หรือ General Purpose ซึ่งหมายถึง สามารถใช้งานได้อเนกประสงค์ โดยทั่วไปเหมาะกับการยาแนวรอยต่อระหว่างกระจกกับขอบประตู หน้าต่างไม้ อะลูมิเนียม และพีวีซี ใช้อุดปลา และติดกระจกตู้ปลาได้ดีเป็นพิเศษ 

อย่างไรก็ตาม กาวซิลิโคนแบบมีกรดไม่เหมาะกับพื้นผิวกลุ่มโลหะ หินอ่อน และเซรามิก เพราะกรดอาจกัดกร่อนวัสดุ ทำให้เกิดรอยด่าง สนิม หรือทำให้ผุได้ นอกจากนั้นยังไม่เหมาะกับพื้นผิวปูน เนื่องจากปูนมีความเป็นด่างสูง จึงทำให้ยึดเกาะกับกาวชนิดที่มีกรดได้ไม่ดี

ทีโอเอ ซิลิโคน ซีลแลนท์ จีพี

ถ้าพูดถึงงานยาแนวกระจกกับขอบประตู หน้าต่างไม้ อะลูมิเนียม และพีวีซี งานยาแนวรอยต่อเพื่อกันน้ำระหว่างวัสดุที่ขยายตัวไม่เท่ากัน หรืองานอุดรอยตู้ปลา พระเอกของงานนี้จะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก ทีโอเอ ซิลิโคน ซีลแลนท์ จีพี เพราะเป็นกาวซิลิโคนชนิดมีกรดที่มีความยืดหยุ่นสูง ยึดพื้นผิวและวัสดุก่อสร้างได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นกระจก หรืออะลูมิเนียมอะโนไดซ์ แถมคุณสมบัติที่ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ และทนอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ -50°C ถึง 150°C  หยิบมาใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องผสม มีอายุการใช้งานยาวนาน หนึ่งหลอดบรรจุ 280 มล. และมีสีฟิล์มสีดำ สีขาว สีเทา สีใส และสีน้ำตาลให้เลือกใช้ได้ตามความต้องการ

กาวซิลิโคนแบบไม่มีกรด

กาวซิลิโคนแบบไม่มีกรด หรือ Neutral Cure Silicone มีฤทธิ์เป็นกลาง กลิ่นไม่ฉุน ไม่กัดกร่อนวัสดุ มีความยืดหยุ่นสูงกว่ากาวซิลิโคนแบบมีกรด แต่แข็งแรงน้อยกว่า และใช้เวลาแห้งได้เร็วไม่เท่ากาวซิลิโคนอีกชนิด กาวซิลิโคนแบบไม่มีกรดนี้สามารถใช้งาน อุดรอยรั่วได้กับวัสดุหลายชนิด เหมาะกับพื้นหิน เซรามิก โลหะ และปูน สามารถใช้ในงานซิลิโคนติดเหล็ก งานติดท็อปเคาน์เตอร์แกรนิตห้องครัว งานกระจก และงานสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ เป็นต้น

แต่ช้าก่อน! ถึงกาวซิลิโคนแบบไม่มีกรดจะคุณสมบัติสารพัดประโยชน์น่าคบหาขนาดนี้ แต่สำหรับงานประเภทยาแนวกระเบื้องห้องน้ำนั้น ขอแนะนำกาวซิลิโคนยาแนวเป็นกาวยาแนวสูตรกันเชื้อราจะเหมาะสมกว่า ด้วยเกรดระดับพรีเมียมที่มีส่วนผสมของสารช่วยป้องกันราดำและเชื้อแบคทีเรีย เหมาะกับพื้นที่สัมผัสน้ำเป็นประจำ และเสี่ยงขึ้นราอย่างพื้นห้องน้ำ ทั้งนี้ทั้งนั้น กาวซิลิโคนชนิดไม่มีกรดบางสูตรก็ไม่เหมาะใช้กับตู้ปลาเพราะอาจมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสัตว์และพืชในน้ำได้ อย่าลืมเลือกใช้ให้ถูกชนิด ถูกประเภทงาน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายได้ในภายหลัง

ทีโอเอ ซิลิโคน ซีลแลนท์ เอชพี

หากคุณกำลังมองหากาวที่มีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อสภาวะอากาศได้ดี มีอายุการใช้งานยาวนาน ขอแนะนำ ทีโอเอ ซิลิโคน ซีลแลนท์ เอชพี กาวซิลิโคน 100% ชนิดไม่มีกรด ที่ตอบโจทย์งานยาแนวและอุดรอยต่อของวัสดุ ไม่ว่าจะเป็น ยึดกรอบประตู หน้าต่าง หรือคอนกรีต งานยึดติดพาแนล และกระจก รวมไปถึงวัสดุอื่นๆ งานป้ายโฆษณา งานสุขภัณฑ์ หรือจะงานละเอียดอ่อนต่อสิ่งมีชีวิตอย่างตู้ปลา กาวทีโอเอ ซิลิโคน ซีลแลนท์ เอชพี ก็จัดให้ได้ อีกทั้งยังไม่มีผลเสียกับแลกเกอร์ที่เคลือบผิววัสดุ ในหนึ่งหลอดบรรจุ 280 มล. และมีฟิล์มสีดำ สีขาว สีเทา และสีใส ให้เลือกใช้ได้หลากหลาย

วิธีใช้กาวซิลิโคนง่ายๆ ใน 5 สเต็ป

วิธีใช้กาวซิลิโคนง่ายๆ ใน 5 สเต็ป

เมื่อเลือกประเภทที่เหมาะกับงานที่ต้องการได้แล้ว ขั้นตอนถัดมาคือการนำมาใช้งานจริงนั่นเอง  โดยวิธีใช้กาวซิลิโคนอุดรอยรั่วสามารถใช้เองได้ ตาม 5 สเต็ปง่ายๆ ต่อไปนี้

สเต็ป 1: เตรียมพื้นผิวก่อนใช้กาวซิลิโคน

ขั้นตอนแรก คือ การเตรียมพื้นผิวให้พร้อม โดยเริ่มจากการทำความสะอาดพื้นผิวบริเวณที่จะใช้งานให้แห้ง สะอาด ไม่มีฝุ่น เศษซีเมนต์ คราบไข หรือคราบยาแนว หากมียาแนวซิลิโคนเดิมที่เสื่อมสภาพค้างอยู่บนพื้นผิวก็สามารถใช้เกรียงหรือคัตเตอร์ลอกออก หรือใช้น้ำยาเช็ดคราบกาวซิลิโคนเช็ดออกได้ ทั้งนี้ ก่อนจะเริ่มทำงาน สามารถเอาเทปกาวแปะขอบทั้งสองด้านของพื้นผิวเพื่อช่วยให้ยิงกาวยาแนวเรียบขึ้นได้

สเต็ป 2: บรรจุกาวซิลิโคนในปืนยิงกาว

เริ่มจากตัดปลายหลอดเป็นมุม 45 องศาให้ได้ขนาดเหมาะกับความกว้างของร่องพื้นผิวที่จะอุดรอย จากนั้นบรรจุหลอดในปืนยิงกาว และขันให้แน่น

สเต็ป 3: ยิงกาวซิลิโคนบนพื้นผิว

ตั้งหลอดกาวให้ทำมุม 45 องศากับร่องของพื้นผิว จากนั้นยิงกาวให้สัมผัสแน่นกับบริเวณพื้นผิวที่ต้องการ

สเต็ป 4: เก็บงาน

ใช้เกรียงปาดเพื่อตกแต่งให้เรียบ หรือใช้มือที่จุ่มน้ำสะอาดผสมน้ำสบู่ปาดเก็บงาน ทำความสะอาดเศษกาว และแต่งขอบให้เรียบร้อยสวยงาม ทั้งนี้ ขั้นตอนของการเก็บงานควรทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเนื้อกาวแห้ง

สเต็ป 5: รอให้กาวซิลิโคนแห้ง

สเต็ปสุดท้ายที่แสนง่ายคือการรอให้กาวแห้งสนิท ซึ่งใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมง

การดูแลหลังจากซ่อมแซม

การดูแลหลังจากซ่อมแซม

หลังจากการซ่อมแซมรอยรั่วแล้ว จำเป็นจะต้องดูแลในส่วนที่ซ่อมรอยรั่วอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยรั่วอีกครั้ง โดยสามารถดูแลบริเวณที่ซ่อมรอยรั่วได้ ดังนี้

  • รอให้กาวซิลิโคนแห้งอย่างน้อย 24 ชั่วโมง 
  • เช็ดสะอาดพื้นที่ที่มีกาวซิลิโคนด้วยผ้าแก้ว หรือผ้าไมโครไฟเบอร์เพื่อความสะอาด และเพื่อความสวยงาม
  • หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่อาจทำให้กาวซิลิโคนเสียหาย เช่น หากใช้ซิลิโคนอุดรอยร้าวที่ผนัง ก็ควรหลีกเลี่ยงการปะทะจากการเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์
  • งดใช้สารเคมีกับกาวซิลิโคน เพราะอาจทำให้กาวซิลิโคนเสียหาย 
  • ตรวจสอบรอยรั่ว หรือความเสียหายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการซ่อมแซม และแก้ไขให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันความเสียหายเพิ่มเติม

กาวทีโอเอ 2 ประเภท พร้อมคุณสมบัติสุดเนี้ยบประหนึ่งกาวซิลิโคนมาเอง

หัวใจของการสร้างและซ่อมให้งานเนียน ละเอียด เรียบกริบ ไม่หลุดลอกเสียหาย คือ การเลือกยาแนวให้ถูกกับงานนั่นเอง หากเข้าใจคุณสมบัติของกาวซิลิโคนอุดรอยรั่วทั้งสองประเภทแล้วแต่ยังรู้สึกว่ายังไม่เหมาะกับงานที่ต้องการใช้เท่าไหร่ก็ไม่ต้องกลัวไป TOA ยังมียาแนวดีๆ มาให้เลือกสรรอีก 2 ตัวด้วยกัน

กาวอะคริลิก

กาวอะคริลิก

กาวอะคริลิก คือ ยาแนวที่ทำจากโพลีเมอร์อะคริลิก โดดเด่นด้วยคุณสมบัติที่สามารถขัดแต่ง และทาสีทับได้ รวมถึงใช้กับพื้นผิวที่มีฝุ่นได้ดี แต่มีข้อจำกัดเรื่องความยืดหยุ่น อายุใช้งาน และความทนทานต่อแสงยูวี (UV) ได้ไม่มากเท่าที่ควร กาวอะคริลิกจึงเหมาะกับงานภายในที่ต้องการทาสีทับ ทั้งนี้ กาวอะคริลิกสามารถใช้ได้กับหลากหลายพื้นผิว ได้แก่ กระจก เซรามิก ไฟเบอร์กลาส ไม้ และอะลูมิเนียม 

ทีโอเอ 303 อะคริลิก ซีลแลนท์

นึกถึงกาวอะคริลิก ขอให้นึกถึง ทีโอเอ 303 อะคริลิก ซีลแลนท์ กาวอะคริลิกยืดหยุ่นสูงสารพัดประโยชน์ที่สามารถอุดรอยต่อได้ทั้งรอยต่อวัสดุก่อสร้าง รอยแตกร้าวผนังปูน และรอยต่อบริเวณที่ต้องการลดเสียงรบกวน ซึ่งกาวอะคริลิกตัวนี้บรรจุหลอดละ 280 มล. และมาในฟิล์มสีขาวสำหรับเลือกทาสีทับได้สะดวก

กาวพียู

กาวพียู

กาวโพลียูรีเทน หรือกาวพียู คือ กาวยาแนวที่มีความแข็งแรง ความเหนียวแน่น และความทนทางสูงกว่ากาวซิลิโคน ฉีกขาดได้ยาก ทนความร้อนสูงถึง 100°C และมีพื้นผิวด้าน จึงทำให้ทาสีทับได้

กาวพียูยึดกับวัสดุได้หลายประเภทไม่ว่าจะเป็นโลหะ ไม้ พลาสติก แก้ว คอนกรีต หรือวัสดุที่มีรูพรุน นิยมใช้ในงานอุดรอยต่อระหว่างโครงสร้างอาคาร และงานอุดรอยรั่ว รอยต่อกระเบื้องมุงหลังคา โดยเฉพาะรอยรั่วที่อยู่ตามแนวตะปูหลังคา จึงนับเป็นหนึ่งในยาแนวที่นำไปใช้ซ่อมหลังคารั่วด้วยตัวเองได้ง่ายๆ

ทั้งนี้ หากพูดถึงปัญหากระเบื้อง ตัวกาวพียูจะเหมาะกับปัญหาอุดช่องว่างระหว่างกระเบื้อง ส่วนปัญหาเกี่ยวกับกระเบื้องอีกแบบอย่าง 

ทีโอเอ โพลียูริเทน ซีลแลนท์

มาถึงกาวพียูที่ผลิตจากสารโพลียูริเทนชนิดพิเศษที่ทนรังสียูวี (UV) ทาสีทับได้ ใช้งานง่าย ไม่ไหลย้อน และไม่มีคราบน้ำมัน อย่าง ทีโอเอ โพลียูริเทน ซีลแลนท์ ที่เรียกได้ว่าเป็นเพื่อนแท้ของงานรอยต่อ เพราะไม่ว่าจะเป็นรอยต่อผนังสำเร็จรูป พื้นคอนกรีต แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์  หรือรอยปริแตกตามอาคาร กาวพียูตัวนี้ก็รับมือได้หมด หนึ่งหลอดบรรจุ 310 มล. มีให้เลือกสองฟิล์มสี คือ สีขาว และสีเทา เรียกได้ว่าเอาอยู่แบบสบายๆ

รู้หรือไม่? กาวซิลิโคนล้างออกยังไงเมื่อเปื้อนมือ

รู้หรือไม่? กาวซิลิโคนล้างออกยังไงเมื่อเปื้อนมือ

เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยเจอกับปัญหากาวเปื้อนมือจากการใช้กาวซิลิโคนอุดรอยรั่ว และกาวประเภทอื่นๆ มาก่อนแน่ๆ ก่อนจากกันไป TOA เลยขอทิ้งท้ายวิธีลดปัญหากวนใจให้ทุกคนกัน

แม้ว่าปัญหากาวเปื้อนมือจะสามารถป้องกันได้ด้วยการสวมใส่ถุงมือทุกครั้งที่ใช้งาน แต่ไม่วายยังเผลอทำเปื้อนได้อยู่ดี มาดูเคล็ดลับการล้างกาวซิลิโคนที่ง่ายแสนง่าย แถมยังมีสารพัดวิธีให้เลือกใช้กันดีกว่า

วิธีที่ 1 ถูมือเพื่อให้กาวหลุดออกมาเป็นก้อนเล็กๆ แล้วล้างก้อนกาวออกด้วยสบู่เด็ก  

วิธีที่ 2 ใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลขัดถูมือ

วิธีที่ 3 เช็ดมือด้วยมุมทิชชูหนาๆ ชุบอะซิโตน หรือน้ำยาล้างเล็บที่มีส่วนผสมของอะซิโคน

วิธีที่ 4 เช็ดมือด้วยทิชชูชุบน้ำมันยูคาลิปตัส จากนั้นล้างออกด้วยน้ำผสมสบู่

วิธีที่ 5 ล้างด้วยผงซักฟอก

วิธีที่ 6 ล้างด้วยยาเช็ดกระจก

วิธีที่ 7 ใช้สเปรย์ขจัดคราบ

ห้ามใช้น้ำยาหรือตัวทำละลายแรงๆ เช่น น้ำยาฟอกขาว น้ำด่าง ทินเนอร์ เด็ดขาด เพราะเป็นอันตรายกับมือ

สรุป

หลายๆ คนคงพอจะเห็นภาพกันแล้วว่ากาวซิลิโคนคืออะไร มีกี่ประเภท และมีวิธีใช้อย่างไร นอกจากนั้นยังได้ทำความรู้จักกับยาแนวประเภทอื่นๆ ทั้งกาวอะคริลิก และกาวพียูกันไปแล้วด้วย โดยแต่ละชนิดก็เหมาะกับงานต่างลักษณะกันไป รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมเลือกยาแนวให้เหมาะกับพื้นผิว เพื่อช่วยให้งานซ่อมแซมหรืองานสร้างออกมาเรียบกริบ แข็งแรง และใช้งานได้ยาวนาน


87304 Views