วิธีซ่อมหลังคารั่วด้วยตัวเอง ไม่ให้กลับมารั่วซ้ำ วิธีซ่อมหลังคารั่วด้วยตัวเอง ไม่ให้กลับมารั่วซ้ำ

วิธีซ่อมหลังคารั่วด้วยตัวเอง ไม่ให้กลับมารั่วซ้ำ

หลังคารั่วซึม ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของหลายๆ คน ซึ่งบางคนอาจจะทำการซ่อมไปเรียบร้อยแล้ว แต่ก็กลับมารั่วอีกครั้ง หรือบางคนอาจจะคิดว่าเป็นรอยรั่วแค่เล็กน้อย ไม่ต้องทำการซ่อมแซมก็ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

ดังนั้น ในบทความนี้จะพาไปดูกันว่า 3 วิธีซ่อมหลังคารั่วง่ายๆ ด้วยตัวเอง สามารถทำอย่างไรได้บ้าง และหากคุณปล่อยปัญหานี้ไว้ไม่ทำการซ่อมแซมจะเกิดอะไรขึ้น เอาเป็นว่าทุกคำถามคุณจะได้รับคำตอบในบทความนี้!

ซ่อมหลังคารั่วแบบง่ายๆ ด้วยเทปบิทูเมนกันรั่วซึม


ซ่อมหลังคารั่วแบบง่ายๆ ด้วยเทปบิทูเมนกันรั่วซึม

ทำไมต้องซ่อมหลังคารั่วด้วยเทปบิทูเมน? เพราะเทปกาวประเภทนี้เป็นเทปกาวสำเร็จรูปอเนกประสงค์ที่ผลิตมาจากบิทูเมนดัดแปลง พร้อมกับเคลือบด้วยพลาสติก HDPE และมีความหนามากถึง 1.50 มิลลิเมตร นอกจากนั้น ยังมีความยืดหยุ่นสูง ทนต่อทุกสภาวะอากาศ แถมยังสามารถใช้งานได้ง่าย และใช้ได้ดีในสภาพอุณหภูมิตั้งแต่ 5 องศาเซลเซียสไปจนถึง 40 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

TOA สมาร์ท เทปซีล - บีเอ็มกันรั่วซึม

ซ่อมงานหลังคารั่วง่ายๆ ด้วยแผ่นแปะ TOA สมาร์ท เทปซีล-บีเอ็ม เป็นเทปบิทูเมนที่แก้ปัญหาหลังคารั่วซึมแบบอเนกประสงค์ เนื้อเทปมีความเหนียว สามารถป้องกันการรั่วซึมของน้ำได้ 100% และยึดเกาะได้อย่างดีเยี่ยม ไม่กรอบแตกง่าย ทนทานต่อสภาพอากาศและรังสี UV เหมาะสำหรับซ่อมแซมรอยแตกร้าวและรอยรั่วซึมในจุดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคาร เช่น กระเบื้องหลังคา ดาดฟ้า รางน้ำฝน หรือรอยต่อระเบียง เป็นต้น

วิธีซ่อมหลังคารั่ว ด้วย TOA สมาร์ท เทปซีล - บีเอ็มกันรั่วซึม

  1. เริ่มจากการเตรียมพื้นผิว ด้วยการทำความสะอาดพื้นผิวบริเวณที่ต้องการติดเทป TOA สมาร์ท เทปซีล - บีเอ็ม ให้สะอาด ปราศจากฝุ่น เศษปูน คราบไขหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ และในบริเวณนั้นต้องแห้งสนิท
  2. ตัดเทป TOA สมาร์ท เทปซีล - บีเอ็ม ตามความยาวของรอยแตกร้าว หรือรอยรั่วที่ต้องการปิดทับ
  3. ลอกฟิล์มออกจากด้านที่มีเนื้อกาว ก่อนจะวางและกดเทป TOA สมาร์ท เทปซีล - บีเอ็ม ลงบนรอยแตกร้าว หรือรอยรั่วที่ต้องการปิดทับ
ซ่อมหลังคารั่วแบบจัดเต็ม เหมือนมืออาชีพ


ซ่อมหลังคารั่วแบบจัดเต็ม เหมือนมืออาชีพ

การซ่อมหลังคารั่วด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์กันซึม เป็นอีกทางเลือกของการซ่อมหลังคาหรือดาดฟ้ารั่วซึมแบบมืออาชีพ ที่จะช่วยให้ปัญหาหลังคารั่วซึมที่ทุกคนกำลังพบนั้นหมดไปอย่างถาวร โดยผลิตภัณฑ์กันซึมที่แนะนำ และขั้นตอนการซ่อมหลังคาหรือดาดฟ้าแบบจัดเต็ม มีดังนี้

TOA 201 รูฟซีล

TOA 201 รูฟซีล เป็นอะคริลิกกันน้ำรั่วซึม 100% มีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นได้มากถึง 5 เท่า ใช้สำหรับทาเคลือบผิวคอนกรีต เพื่อป้องกันการรั่วซึม รวมถึง ช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหารอยแตกร้าวของคอนกรีตที่เกิดจากการเปลี่ยนของอุณหภูมิได้ดี และมีความทนทานต่อแสงแดด สภาพอากาศ และการเสียดสีได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับใช้เป็นกันซึมดาดฟ้าคอนกรีต กันซึมหลังคา หรือกันซึมบริเวณพื้นผิวต่างๆ เช่น ระเบียง ​​รางระบายน้ำคอนกรีต กระเบื้องหลังคาใยหิน หรือหลังคาเหล็ก สังกะสี เป็นต้น

TOA รูฟซีล ซันบล็อก

TOA รูฟซีล ซันบล็อก เป็นอะคริลิกกันน้ำรั่วซึม 100% ประเภทกันความร้อน มาพร้อมกับเทคโนโลยีสะท้อนความร้อนที่มีส่วนผสมพิเศษ 2 ชนิด ได้แก่ สาร SRP (Solar Reflective Pigment) ที่สะท้อนความร้อนได้มากกว่า 93%  และผงเซรามิก (Insulating Microsphere Ceramic) ที่ช่วยดูดซับและป้องกันความร้อนได้ดี นอกจากนั้น ยังช่วยป้องกัน และแก้ไขปัญหารอยแตกร้าวได้ดี แถมยังมีความทนทานต่อแสงแดด สภาพอากาศ การขัดถู และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน เหมาะสำหรับใช้ทากันซึมดาดฟ้า คอนกรีต หลังคาเหล็ก หลังคาสังกะสี กระเบื้องหลังคาใยหิน กระเบื้องลอนคู่ ระเบียง รวมถึง อาคารและโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

TOA พียู วอเตอร์พรูฟ

TOA พียู วอเตอร์พรูฟ เป็นผลิตภัณฑ์กันรั่วซึม ประเภทโพลียูรีเทน สูตรน้ำสำเร็จรูป มีความยืดหยุ่นสูง ไร้รอยต่อ กันรั่วซึมได้ 100% สามารถช่วยปกปิดรอยแตกร้าวของคอนกรีตที่เกิดจากการเปลี่ยนของอุณหภูมิได้ดี มีความทนทานต่อสารเคมี แสงแดด และสภาพอากาศ รวมถึง ไม่มีส่วนประกอบของสารระเหยอันตราย หรือสารที่ติดไฟได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เหมาะสำหรับงานกันซึมบนพื้นผิวต่างๆ เช่น ดาดฟ้าคอนกรีต ระเบียง หรือกระเบื้องหลังคาใยหิน เป็นต้น

TOA ไฟเบอร์ เมช

TOA ไฟเบอร์ เมช เป็นแผ่นตาข่ายไฟเบอร์กลาสเคลือบอะคริลิกคุณภาพสูง โดยใช้สำหรับเสริมความแข็งแรงให้กับผลิตภัณฑ์กันรั่วซึมทุกประเภท เช่น TOA 201 รูฟซีล, TOA รูฟซีล ซันบล็อก หรือ TOA พียู วอเตอร์พรูฟ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดการแตกร้าว ป้องกันการขยายตัวเพิ่มเติมของรอยแตก และช่วยยืดอายุการใช้งานของวัสดุกันซึมได้เป็นอย่างดี

วิธีซ่อมหลังคารั่ว แบบมืออาชีพ

  1. เตรียมพื้นผิว และทำความสะอาดด้วยการขูดหรือแซะวัสดุกันซึม หรือพื้นผิวเดิมที่เสื่อมสภาพออกก่อน
  2. หลังจากนั้นให้ล้างทำความสะอาดด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง เพื่อขจัดคราบดำ ฝุ่น หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ออกไปให้หมด และทิ้งพื้นผิวเอาไว้ให้แห้งอย่างน้อย 1-2 วัน
  3. เมื่อพื้นผิวแห้งแล้ว ให้ทำการลงน้ำยา TOA 113 ไมโครคิล (น้ำยาฆ่าเชื้อรา) แบบไม่ต้องผสมน้ำ ในบริเวณพื้นผิวทั้งหมด หรือเฉพาะบริเวณที่เกิดเชื้อราและตะไคร่น้ำ เพื่อฆ่าเชื้อราออกให้หมด และทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องล้างออก
  4. หลังจากนั้นให้ขยายรอยแตกร้าวให้เป็นรูปตัว V ด้วยการเจียร โดยเจียรให้รอยลึกกว่าเดิม เพื่อให้การอุดโป๊วแน่นขึ้น พร้อมกับทำความสะอาดฝุ่นผง และสิ่งสกปรกต่างๆ ออกให้หมด
  5. อุดโป๊วร่องที่ได้ทำการเจียรไว้ด้วย ทีโอเอ โพลียูริเทน ซีลแลนท์ (TOA PU Sealant) และทิ้งไว้ประมาณ 8-12 ชั่วโมง จนแห้งสนิท
  6. หลังจากนั้นให้ทำการทาอะคริลิกกันซึม โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันซึมได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็น TOA 201 รูฟซีล และ TOA รูฟซีล ซันบล็อก ซึ่งจะทาทั้งหมด 3 รอบ ได้แก่ รองพื้น 1 รอบ และทาทับหน้า 2 รอบ หรือ TOA พียู วอเตอร์พรูฟ ซึ่งจะทาทั้งหมด 4 รอบ ได้แก่ รองพื้น 1 รอบ และทาทับหน้า 3 รอบ
  7. การทากันซึมในชั้นรองพื้นนั้น ให้ทำการผสมผลิตภัณฑ์กันซึมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วน 3 : 1 เพื่อเสริมการยึดเกาะกับพื้นผิวมากยิ่งขึ้น โดยทาให้ทั่วทั้งพื้นที่ และทายกขอบผนังประมาณ 10 เซนติเมตร
  8. หลังจากทาผลิตภัณฑ์กันซึมรองพื้น 1 รอบ และทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 1-2 ชั่วโมง
  9. เมื่อชั้นรองพื้นแห้งแล้ว ​​ให้ทำการปูเสริมด้วยตาข่าย TOA ไฟเบอร์ เมช ในบริเวณขอบมุม รอยต่อโครงสร้าง หรือรอยแตกร้าว และทาผลิตภัณฑ์กันซึมโดยไม่ต้องผสมน้ำตามจำนวนรอบดังนี้
            - ผลิตภัณฑ์กันซึม TOA 201 รูฟซีล และ TOA รูฟซีล ซันบล็อก ให้ทาทับหน้าตาข่ายและรีดให้เรียบ 1 รอบ ทิ้งไว้ให้แห้ง 2-4 ชั่วโมงและทาทับอีก 1 รอบเมื่อรวมชั้นรองพื้นจะเป็นทั้งหมด 3 รอบ 
             - TOA พียู วอเตอร์พรูฟ ให้ทาทับหน้าตาข่ายและรีดให้เรียบ 1 รอบ ทิ้งไว้ให้แห้ง 2-4 ชั่วโมงและทาทับอีก 2 รอบโดยแต่ละรอบจะต้องทิ้งไว้ให้แห้ง 2-4 ชั่วโมงก่อนทาทับชั้นถัดไป และเมื่อรวมชั้นรองพื้นจะเป็นทั้งหมด 4 รอบ 
    ซึ่งการทาทับหน้านั้นให้ทาแบบไขว้กัน (ล่างขึ้นบน และซ้ายไปขวา) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะ
  10. ขั้นตอนสุดท้าย คือ การเก็บรายละเอียดเพิ่มเติมในบริเวณต่างๆ ให้เรียบร้อย เพื่อให้วัสดุกันซึมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดูสวยงามในเวลาเดียวกัน
รวมสาเหตุของหลังคารั่วซึมที่พบได้บ่อย


รวมสาเหตุของหลังคารั่วซึมที่พบได้บ่อย

ปัญหาหลังคารั่วซึมนั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ อย่างเช่น รอยร้าว หรือรูรั่วตามจุดต่างๆ เป็นต้น โดยสาเหตุที่ทำให้หลังคารั่วซึมที่พบได้บ่อย มีดังนี้

รอยรั่วตามแนวตะปู

รอยรั่วตามแนวตะปู หรือรอยรั่วตามอุปกรณ์ที่ยึดหลังคา เป็นสาเหตุที่ทำให้หลังคารั่วซึม โดยเกิดจากการเสื่อมสภาพ หรือผุเป็นสนิมของอุปกรณ์ยึดกระเบื้อง จึงทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถยึดติดกับกระเบื้องไว้แน่นดังเดิม และทำให้กระเบื้องมีรูช่องว่าง ส่งผลให้แสงแดดส่องผ่าน หรือน้ำไหลซึมลงไปตามรูช่องว่างได้ ซึ่งสามารถซ่อมหลังคารั่วจากสาเหตุนี้ได้ด้วยการเปลี่ยนอุปกรณ์ยึดใหม่ หรือซ่อมด้วยการใช้ ผลิตภัณฑ์อุดโป้ว เช่น ทีโอเอ โพลียูริเทน ซีลแลนท์

รอยรั่วจากส่วนที่ต่อเติม

รอยรั่วจากส่วนที่ต่อเติม เกิดจากการต่อเติมที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น มีช่องว่างระหว่างหลังคาที่ต่อเติมกับตัวบ้าน จึงทำให้มีน้ำรั่วซึมเข้ามาในช่องว่างบริเวณรอยต่อได้ ซึ่งสามารถป้องกันได้ ด้วยการใช้สเปรย์อุดรอยร้าว หรือโฟมอุดรอยร้าวอย่าง ทีโอเอ พียูโฟม สเปรย์ ที่มีคุณสมบัติในการปิดช่องว่างของการต่อเติมเดิมได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าปิดได้ทุกโพรง ปิดได้ทุกรู หมดปัญหารั่วซึม ด้วยกระป๋องเดียว

รอยรั่วจากการแตกหรือร้าว

รอยรั่วจากการแตกหรือร้าว เป็นสาเหตุที่ทำให้หลังคารั่วซึมที่สามารถพบได้บ่อยมาก โดยเกิดจากการแตกหรือร้าวของกระเบื้อง ซึ่งอาจเกิดจากการเจาะกระเบื้องผิดวิธี วัตถุที่มีความแข็งตกใส่ หรือได้รับแรงกระแทก นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการมุงกระเบื้องผิดวิธี เช่น มุงไม่สลับแนวกระเบื้อง จึงทำให้เกิดรอยแตกหรือร้าว และส่งผลให้แสงแดดสามารถส่องผ่าน หรือน้ำสามารถไหลผ่านไปตามรอยรั่วได้ ซึ่งสามารถซ่อมหลังคารั่วจากสาเหตุนี้ด้วยการใช้แผ่นแปะหลังคารั่ว

รอยรั่วจากรอยต่อผนัง

รอยรั่วจากรอยต่อผนัง เกิดจากแนวรอยต่อของผนังที่เกิดการแตกร้าวจนกลายเป็นช่องว่าง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การใช้ปูนไม่ได้มาตรฐาน ช่างไม่มีความชำนาญในการฉาบและผสมปูน หรือคานด้านบนกำแพงรับน้ำหนักมากเกินไป เป็นต้น ซึ่งสามารถซ่อมหลังคารั่วที่เกิดจากรอยต่อผนังด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์อุดโป๊วรอยร้าว ​​(เช่น ทีโอเอ 302 อะคริลิค ซีลแลนซ์ หรือ ทีโอเอ โพลียูริเทน ซีลแลนท์) เพื่อโป๊วรอยแตกร้าวไม่ให้น้ำสามารถรั่วซึมเข้ามาได้

รอยรั่วจากพื้นของดาดฟ้า

รอยรั่วจากพื้นของดาดฟ้า เป็นสาเหตุของปัญหาหลังคารั่วซึมที่สามารถพบได้บ่อยในบ้าน ตึก หรืออาคารที่มีชั้นดาดฟ้า โดยเกิดจากการแตกร้าวของพื้นดาดฟ้า เพราะใช้ปูนที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้ทากันซึมดาดฟ้า หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และอาจเกิดจากรอยต่อผนังกับพื้นดาดฟ้าแตกร้าว เพราะพื้นดาดฟ้ากับผนังนั้นก่อสร้างคนละเวลา จึงทำให้พื้นและผนังไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าวและดาดฟ้ารั่วซึม ซึ่งสามารถซ่อมรอยรั่วจากพื้นของดาดฟ้าด้วยการใช้กันซึมดาดฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึมตามรอยแตกร้าวได้

หลังคารั่วซึม หากไม่รีบแก้ไข จะเจอปัญหาเหล่านี้


ถ้าหากพบเจอกับปัญหาหลังคารั่วซึม ทุกคนไม่ควรละเลย หรือปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน เพราะถ้าหากไม่รีบแก้ไข อาจพบเจอกับปัญหาต่างๆ ที่ตามมาได้ ดังนี้

  • ฝ้าและเพดานในบริเวณที่มีการรั่วซึมเกิดเชื้อราจนเป็นคราบสีน้ำตาล
  • ขอบผนังหรือปูนในบริเวณที่มีการรั่วซึม เกิดรอยแยกหรือแตกร้าว
  • เฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีการรั่วซึมได้รับความเสียหาย
  • พื้นและผนังที่ได้รับความชื้น จะเกิดคราบเชื้อราหรือมีสิ่งสกปรกติดอยู่
  • กระเบื้องที่มีการรั่วซึมหรือมีรอยร้าว เกิดการแตกจนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก้ผู้อยู่อาศัยได้

นอกจากนี้ ยังอาจมีปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ในอนาคต ดังนั้น ทุกคนจึงควรรีบทำการซ่อมแซมหลังคารั่วให้เร็วที่สุด

วิธีป้องกันและรับมือกับปัญหาหลังคารั่วซึม


วิธีป้องกันและรับมือกับปัญหาหลังคารั่วซึม

หลังจากทราบถึงสาเหตุที่ทำให้หลังคารั่วซึมแล้ว ทุกคนควรทราบถึงวิธีการป้องกัน เพื่อจะได้รับมือกับปัญหาหลังคาหรือดาดฟ้ารั่วซึมได้อย่างทันท่วงที โดยวิธีป้องกันที่ทุกคนสามารถทำได้ทันทีมีทั้งหมด ดังนี้

คอยสำรวจรอยรั่วของหลังคา

การสำรวจบริเวณหลังคาบ่อยๆ ถือว่าเป็นวิธีป้องกันปัญหาหลังคารั่วซึมที่ดีที่สุด โดยทำการตรวจดูที่บริเวณรอยต่อหลังคาส่วนต่อเติม สันครอบหลังคา แนวอุปกรณ์ยึดกระเบื้อง และรอยแตกร้าวบนกระเบื้อง เพื่อจะได้แก้ปัญหารอยแตกร้าวเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็วที่สุด

รู้สาเหตุพร้อมลงมือแก้ไขทันที

เมื่อทุกคนทำการสำรวจรอยรั่ว และทราบถึงสาเหตุของรอยรั่วแล้ว ควรรีบทำการแก้ไขในทันที โดยเลือกวิธีแก้ไขให้เหมาะสมกับสาเหตุมากที่สุด เช่น รอยรั่วจากการแตกหรือร้าว ควรใช้ผลิตภัณฑ์อุดโป๊วรอยร้าว เช่น ทีโอเอ 302 อะคริลิค ซีลแลนซ์ หรือ ทีโอเอ โพลียูริเทน ซีลแลนท์ จากนั้นทาทับด้วยผลิตภัณฑ์กันรั่วซึม  เช่น กันซึมดาดฟ้า เป็นต้น ถ้าหากเลือกวิธีแก้ไขได้ไม่ตรงจุดอาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้

เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ซ่อมหลังคารั่วที่มีมาตรฐาน

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาหลังคารั่วซึม คือ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ซ่อมหลังคารั่วที่มีมาตรฐาน โดยเลือกจากแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือ และผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองคุณภาพ ถ้าหากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานนั้น อาจไม่สามารถซ่อมรอยรั่วได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งอาจทำให้เสียหายมากกว่าเดิม และแก้ไขรอยรั่วได้ยากมากขึ้น

ถ้าหากหลังคาบ้านของคุณเกิดการรั่วซึม ไม่ควรปล่อยละเลย และควรรีบซ่อมแซมหลังคารั่วทันที เพราะอาจส่งผลให้เกิดอันตราย หรืออุบัติเหตุต่างๆ ตามมาได้ โดยทุกคนสามารถแก้ปัญหาหลังคารั่วซึมด้วยการเลือกเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อุดโป๊วรอยร้าวและสีทากันรั่วซึม โดยจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับวัสดุ หรือพื้นผิวที่เกิดรอยรั่วซึม เพื่อให้การอุดรอยรั่วนั้นมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานมากที่สุด


7115 Views