ซีเมนต์กันซึม ใช้งานอย่างไร? ตัวช่วยจบทุกปัญหาการรั่วซึม ซีเมนต์กันซึม ใช้งานอย่างไร? ตัวช่วยจบทุกปัญหาการรั่วซึม

ซีเมนต์กันซึม ใช้งานอย่างไร? ตัวช่วยจบทุกปัญหาการรั่วซึม

บริเวณบ้านของเรา มีส่วนที่ควรจะต้องติดตั้งระบบกันซึมอยู่หลายจุด ซึ่งจริงๆ แล้ว ในแต่พื้นที่ของบริเวณบ้าน ก็ควรจะต้องเลือกใช้กันซึมให้เหมาะสม ถูกประเภท ถูกพื้นที่ โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ตรงไหนรั่วซึมก็เอาซีเมนต์กันซึมมาทา ซึ่งจริงๆ แล้วการใช้ซีเมนต์กันซึมนั้น หากจะให้ดี ต้องใช้ให้ถูกกันพื้นที่ ดังนั้น ในบทความนี้ TOA จะพาทุกคนไปรู้จักกับซีเมนต์กันซึมว่าคืออะไร ใช้งานอย่างไร และควร หรือไม่ควรใช้ที่ตรงไหนของบริเวณบ้านบ้าง

ซีเมนต์กันซึม คืออะไร?

อาจมีหลายคนคุ้นหูหรือรู้จักกับซีเมนต์กันซึม แต่ไม่รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วซีเมนต์ชนิดนี้ทำมาจากอะไร มีคุณสมบัติอะไรที่น่าสนใจบ้าง ซึ่งซีเมนต์ประเภทนี้ทำมาจากซีเมนต์และโพลีเมอร์ ผสมกันจนกลายเป็นเนื้อเดียว เมื่อนำไปทาหรือฉาบบนพื้นผิวจะทำหน้าที่เป็นฟิล์มเคลือบ เพื่อป้องกันน้ำและความชื้นที่อาจจะซึมเข้ามาในบริเวณบ้านได้

โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซีเมนต์ชนิดที่ไม่ยืดหยุ่นตัว และซีเมนต์ชนิดที่ยืดหยุ่นตัวได้ โดยความแตกต่างจะอยู่ที่ราคาและคุณสมบัติ สำหรับราคาของซีเมนต์ชนิดที่ไม่ยืดหยุ่นตัวจะมีราคาถูกกว่าแต่ความทนทานอาจจะน้อยกว่า หากเป็นชนิดที่มีความยืดหยุ่นจะมีความทนทาน มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า

ซีเมนต์กันซึม VS อะคริลิคกันซึม ต่างกันอย่างไร?

ใครที่เคยมีประสบการณ์ช่างประมาณหนึ่ง ก็จะพอทราบว่ามีวัสดุอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติในการกันซึมได้อย่าง อะคริลิคกันซึม ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่าอะไรคือความแตกต่างระหว่างซีเมนต์กันซึมกับอะคริลิคกันซึม

ซีเมนต์กันซึม

โดยทั่วไปทนน้ำขังได้ดีกว่าอะคริลิกกันซึม แต่ไม่ค่อยทนกับแสงแดดและรัวสียูสี ด้วยคุณสมบบัตินี้เราจึงนิยมใช้ซีเมนต์กันซึมกับงานที่มีวัสดุปิดทับ เช่น การติดตั้งระบบกันซึมห้องน้ำ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่ไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และนิยมปูกระเบื้องบิกทับนั่นเอง

อะคริลิกกันซึม

มีความยืดหยุ่นสูงกว่าซีเมนต์กันซึม สามารถปล่อยเปลือยได้ เพราะทนทานต่อแสงแดดและแสงยูวีมากกว่าซีเมนต์กันซึม แต่จะไม่ทนกับสภาพน้ำขังแบบเป็นแอ่ง ที่ขังอยู่เป็นเวลานานๆ ได้  ดังนั้นเราจึงนิยมใช้อะคริลิกกันซึมกับงานดาดฟ้าและหลังคา ซึ่งจะเจอแดดแจอแสงยูวีที่มากกว่า และไม่จำเป็นต้องมีวัสดุปูทับ

ซีเมนต์กันซึมสามารถใช้กับงานแบบไหนได้บ้าง?

คาดว่าทุกคนจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับซีเมนต์กันซึมได้ดีขึ้นมาบ้างไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ดีหลายคนอาจจะยังคลุมเครือเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้งานของซีเมนต์ประเภทนี้ ว่าเหมาะกับการใช้งานบริเวณไหนได้บ้าง และควรเลือกใช้แบบใดจึงจะเหมาะสม

ห้องน้ำ

ห้องน้ำเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ใช้งานบ่อยและมักจะเกิดความชื้น ยิ่งไปกว่านั้นเพราะเมื่อห้องน้ำมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นก็อาจเกิดการชำรุด เช่น บริเวณกระเบื้อง บริเวณพื้นที่เกิดการรั่วซึม หรือตามร่องยาแนว หลุดร่อน ถ้าไม่ได้ทำกันซึมเอาไว้ อาจส่งผลให้อนาคตห้องน้ำอาจเกิดการรั่วซึมของน้ำได้ ดังนั้น ควรฉาบลงบนพื้นก่อนปูกระเบื้อง เพราะจะช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้

ทำกันซึมห้องน้ำเลือกใช้ซีเมนต์กันซึมแบบไหนดี: การทำกันซึมห้องน้ำ หากพื้นที่ของห้องน้ำไม่ได้ใหญ่มาก เจ้าของบ้านก็สามารถทำเองได้ง่ายๆ แค่เลือกใช้ซีเมนต์กันซึมแบบส่วนผสมเดียว (Cement Waterproof 1 Part) แค่เพียงผสมน้ำแล้วใช้สว่านรอบต่ำปั่นให้ซีเมนต์กันซึมให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน รอบ่มตัวสักพัก ก็เริ่มทาเองได้ตามที่ข้างบรรจุภัณฑ์แนะนำวิธีการใช้งาน

สระว่ายน้ำ

หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่าทำไมต้องใช้ซีเมนต์กันซึมในสระว่ายน้ำ เหตุผลที่ต้องเคลือบก็เพราะว่าช่วยป้องกันโครงสร้างภายในอย่างคอนกรีต เนื่องจากคอนกรีตอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันน้ำได้ และอาจทำให้สึกกร่อนได้ในระยะยาวจากสนิมที่กัดกินคอนกรีต หากบานปลายมากอาจต้องทำการรื้อสระกันเลยทีเดียว

ทำกันซึมสระว่ายน้ำ เลือกใช้ซีเมนต์กันซึมแบบไหนดี: หากต้องจ้างช่างทำสระว่ายน้ำอยู่แล้ว แค่มองหาซีเมนต์กันซึมที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นแบบส่วนเดียว หรือแบบสองส่วนผสมก็สามารถเลือกตามสะดวกและงบประมาณที่มีอยู่ได้เลย ที่สำคัญคือ ต้องเฟ้นหาช่างที่มีความรู้ในการติดตั้งระบบกันซึมสระว่ายน้ำ และปฏิบิติตามวิธีการใช้งานข้างบรรจุภัณฑ์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้งานกันซึมที่มีประสิทธิภาพ

บ่อน้ำขนาดเล็ก หรืออ่างเลี้ยงปลา

เพื่อให้บ่อน้ำขนาดเล็กหรืออ่างเลี้ยงปลาปลอดภัยกับปลามากที่สุด ซีเมนต์กันซึมจึงเป็นตัวเลือกที่ดี เนื่องจากมีความยืดหยุ่น ป้องกันการรั่วซึม ไม่มีสารเคมีที่อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต จึงไม่น่าแปลกใจที่หากช่างส่วนใหญ่จะเลือกใช้ตัวช่วยอย่างซีเมนต์ประเภทนี้ในการฉาบเคลือบทั้งพื้น และผนังอ่างอยู่เสมอ

ทำกันซึมบ่อปลา  เลือกใช้ซีเมนต์กันซึมแบบไหนดี: สำหรับบ่อปลาหากมีขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น บ่อปลาคาร์ฟขนาดย่อมภายในสวนหน้าบ้านหรือหลังบ้าน หากต้องการติดตั้งระบบกันซึมเองแบบไม่ต้องจ้างช่าง การเลือกใช้ซีเมนต์กันซึมแบบส่วนผสมเดียว (Cement Waterproof 1 Part) ดูจะเป็นทางเลือกที่สะดวกที่สุด เพราะใช้งานง่ายแค่ เพียงผสมน้ำแล้วใช้สว่านรอบต่ำปั่นให้ซีเมนต์กันซึมให้เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน รอบ่มตัวสักพัก ก็เริ่มทาเองได้ตามที่ข้างบรรจุภัณฑ์แนะนำวิธีการใช้งาน

พื้นที่อื่นๆ ที่ต้องป้องกันการรั่วซึม

พื้นที่ที่เหมาะกับการใช้ซีเมนต์กันซึมนั้นควรจะต้องมีวัสดุปิดทับ เช่น ติดตั้งระบบกันซึมด้วยซีเมนต์กันซึมที่ห้องใดห้องหนึ่ง แล้วปูทับด้วยกระเบื้อง ไม่ควรปล่อยเปลือยเพราะซีเมนต์กันซึมนั้นไม่ทนต่อแสงแดดและรังสียูวี

แนะนำผลิตภัณฑ์ซีเมนต์กันซึมคุณภาพสูงจาก TOA

หลังจากที่ทุกคนได้รู้วิธีเกี่ยวกับการใช้ซีเมนต์กันซึมกันไปบ้างแล้ว เราก็ขอแนะนำ ซีเมนต์กันซึมคุณภาพสูงอย่างแบรนด์ของจาก TOA ของเรากันบ้าง โดย TOA มีผลิตภัณฑ์ซีเมนต์กันซึมคุณภาพ อยู่ 2 แบบให้เลือก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแบบไหน รับรองว่ากันรั่วซึมได้ 100% แน่นอน

TOA ซีเมนต์กันซึม ส่วนผสมเดียว

ทีโอเอ ซีเมนต์กันซึมส่วนผสมเดียว หรือ ทีโอเอ ซีเมนต์ วอเตอร์พรูฟ 1 พาร์ท (TOA Cement Waterproof 1 Part) เป็นซีเมนต์สำเร็จรูปพร้อมใช้งาน แค่เพียงผสมน้ำสะอาด ถือว่าประหยัดเวลาไปได้มากๆ ที่สำคัญ ซีเมนต์กันซึมส่วนผสมเดียวจากทีโอเอชนิดนี้ ยังมีความยืดหยุ่นตัวสูง สามารถป้องกันและปกปิดรอยแตกร้าวได้ดี รับแรงดันน้ำได้สูง และยึดเกาะกับพื้นผิวได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย

ทีโอเอ ซีเมนต์ วอเตอร์พรูฟ 1 พาร์ท เหมาะสำหรับงานกันซึมทั้งภายนอกและภายใน

  • ทาก่อนปูกระเบื้องห้องน้ำ ดาดฟ้า ระเบียง
  • ถังเก็บน้ำ อ่างเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก สระว่ายน้ำ รางระบายน้ำ ห้องใต้ดิน ผนังกันดิน ช่องลิฟท์ และอุโมงค์

สำหรับวิธีใช้ซีเมนต์กันซึม ทีโอเอ วอเตอร์พรูฟ 1 พาร์ท ก็แสนง่าย แค่เพียงผสมน้ำแล้วปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ จากนั้นทิ้งไว้ให้ซีเมนต์บ่มตัวสักพักก็เริ่มทาได้เลย สามารถอ่านข้อมูลระบบการใช้งานแบบละเอียดเต็มๆ ตั้งแต่การเตรียมพื้นผิว วิธีการผสมแบบเป๊ะๆ ไปจนถึงวิธีการใช้งานแบบละเอียด พร้อมถึงข้อแนะนำเพิ่มเติมของผลิตภัณฑ์ ทีโอเอ วอเตอร์ฟรูฟ 1 พาร์ท คลิกที่นี่

TOA ซีเมนต์กันซึม 2 ส่วนผสม

อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์สำหรับซีเมนต์กันซึมคุณภาพจาก TOA นั่นก็คือ ทีโอเอ ซีเมนต์กันซึม 2 ส่วนผสม หรือ ทีโอเอ ซีเมนต์ วอเตอร์พรูฟ 2 พาร์ท (TOA Cement Waterproof 2 Part) สามารถทาหรือฉาบได้บนพื้นผิวคอนกรีตเปลือย คอนกรีตมวลเบา หรือแม้แต่คอนกรีตหล่อสำเร็จ ก็สามารถทาได้ และยังป้องกันน้ำซึมผ่านได้ 100% อีกด้วย ผลิตภัณฑ์นี้จะมี 2 ส่วน โดยจะต้องผสมระหว่าง Part A น้ำยาอะคริลิกโพลีเมอร์ และ Part B ซีเมนต์ผสมสูตรพิเศษ ที่จะทำให้การยึดเกาะพื้นผิวนั้นเป็นไปอย่างดีเยี่ยม แถมยังใช้กับงานพวกแทงก์น้ำ หรือบ่อน้ำดื่มได้ ตามมาตรฐานการประปา

ทีโอเอ ซีเมนต์ วอเตอร์พรูฟ 2 พาร์ท เหมาะสำหรับบริเวณต่างๆ เช่น

  • ถังเก็บน้ำ
  • อ่างเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • สระว่ายน้ำ สวนน้ำ
  • รางระบายน้ำ
  • ห้องใต้ดิน ผนังกันดิน ช่องลิฟท์ และอุโมงค์
  • ทาก่อนปูกระเบื้องห้องน้ำ ดาดฟ้า ระเบียง

ประโยชน์จากการใช้ซีเมนต์กันซึมมีมากกว่าที่ทุกคนคิด

ประโยชน์ของการใช้ซีเมนต์กันซึมนอกจากจะช่วยในเรื่องการแก้ปัญหาน้ำรั่วซึมแล้ว ผลพลอยได้จากการได้ติดตั้งระบบกันซึมที่มีคุณภาพ ยังมีอีกมากมายที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง

  • ช่วยลดปัญผาผนังโป่งพอง และสีหลุดล่อน: หนึ่งในปัญหาที่เกิดจากการไม่ติดตั้งระบบกันซึม คือปัญหาของการรั่วซึมที่จะนำความชื้นเข้าสู่ตัวบ้าน ความชื้นเหล่านี้ ไม่ได้อยู่แค่บริเวณที่มีการรั่วซึมเท่านั้น แต่ยังสามารถแพร่กระจายไปบริเวณรอบๆ ที่เกิดปัญหาได้ เช่น ห้องต่างๆ ที่ติดอยู่กับบริเวณที่เกิดการรั่วซึม ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่า ผนังจะเกิดการโป่งพองและเกิดสีลอกล่อนออกมาเป็นแผ่นๆ
  • ไม่ต้องรื้อกระเบื้องใหม่: ปัญหาปวดใจของเจ้าของบ้าน เมื่อห้องที่เกิดการรั่วซึมนั้นปูด้วยกระเบื้อง การทำระบบกันซึมแบบเดิมๆ อาจจะต้องสกัดหรือรื้อกระเบื้องเก่าออก ซึ่งจะทำให้เสียเวลาไปพอสมควร นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดเสียงดัง และฝุ่นจากขั้นตอนของการสกัดกระเบื้องเหล่านี้ แต่ถ้าเลือกใช้ทีโอเอ ซีเมนต์ วอเตอร์พรูฟ 1 พาร์ท คุณจะสามารถข้ามข้อจำกัดนี้ไปได้ เนื่องจาก ซีเมนต์กันซึม ทีโอเอ ซีเมนต์ วอเตอร์พนูฟ 1 พาร์ท นั้น สามารถทาทับกระเบื้องเก่าได้เลย ไม่ต้องสกัดกระเบื้องเดิมออก

ข้อควรระวังในการใช้ซีเมนต์กันซึม

การทาซีเมนต์เคลือบนี้มีประโยชน์ตามที่ได้กล่าวไป แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อควรระวังที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยง เพื่อให้ประสิทธิภาพซีเมนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และไม่เกิดอันตรายจากการใช้งานซีเมนต์ประเภทนี้

  • ผสมซีเมนต์เหลวเกิน: เพราะในซีเมนต์บางรุ่น หรือบางแบรนด์จำเป็นที่จะต้องผสมก่อนใช้งาน หากช่างหรือผู้ใช้งานไม่ได้มีประสบการณ์ อาจจะทำให้แล้วเหลวเกิน ไม่สามารถทาหรือฉาบได้และประสิทธิภาพก็จะเสื่อมลงจนทำให้ไม่สามารถกันซึมได้ ซึ่งก็จะมีความยุ่งยากและใช้เวลาหากไม่ชำนาญมากพอ ดังนั้น ควรเลือกช่างมืออาชีพที่เข้าใจในการทำงาน อย่าง WHO Service ผู้ให้บริการมืออาชีพในเรื่องการซ่อมแซม ต่อเติม รวมทั้งแก้ไขปัญหารั่วซึม ร้าว ลอกล่อน เรียกได้ว่าบริการครบวงจรมาตรฐานของ TOA
  • การฉาบที่หนาเกิน: การฉาบซีเมนต์ที่หนาเกิน นอกจากจะไม่สามารถกันซึมได้ตามวัตถุประสงค์ของคุณแล้ว ยังทำให้พื้นที่ที่ฉาบแตกอีกด้วย เพื่อแก้ปัญหานี้จึงจำเป็นต้องศึกษาวิธีการใช้งานข้างผลิตภัณฑ์และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
  • การเลือกซีเมนต์ที่ไม่ได้คุณภาพ: การเสี่ยงเลือกใช้ซีเมนต์ที่ไม่ได้คุณภาพ อาจจะทำให้พื้นผิวที่ฉาบไปนั้นแตกหักได้ง่าย ทำให้ต้องเสียเงินซ่อมแซมอยู่บ่อยๆ

ซีเมนต์กันซึมเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญของการสร้างบ้านที่ดี คุณหรือช่างผู้ก่อสร้างควรใส่ใจกับงานเคลือบพื้นผิว เพื่อป้องกันการซึม โดยสามารถใช้กันซึมได้ในบริเวณสระว่ายน้ำ ผนังจากภายนอก ห้องใต้ดิน บริเวณห้องน้ำ ระเบียง และพื้น โดยการทานั้นไม่ควรปล่อยเปลือย จำเป็นที่ต้องมีวัสดุปิดทั้บ เช่น เมื่อทาซีเมนต์กันซึมที่พื้นห้องน้ำเรียบร้อยจากนั้นให้ทำการปูกระเบื้องนั่นเอง และสำหรับวิธีใช้ซีเมนต์กันซึมก็ไม่ยุ่งยาก เรียกได้ว่าตอบโจทย์คนรักบ้านที่อยากให้บ้านมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น ไม่ต้องเสียเงินซ่อมแซมบ่อยๆ


19085 Views