รวบรวม 7 คำถามสุดฮิต พ่นสีสเปรย์อย่างไร ให้มีประสิทธิภาพและติดทน รวบรวม 7 คำถามสุดฮิต พ่นสีสเปรย์อย่างไร ให้มีประสิทธิภาพและติดทน

รวบรวม 7 คำถามสุดฮิต พ่นสีสเปรย์อย่างไร ให้มีประสิทธิภาพและติดทน

​​เมื่อถึงเวลาสำหรับโอกาสพิเศษต่างๆ ก็คงอยากทำอะไรพิเศษๆ ขึ้นมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นของขวัญวันเกิด ของขวัญวันครบรอบ ของตกแต่งบ้าน รวมไปถึงการซ่อมแซมสิ่งของต่างๆ ให้เหมือนใหม่ บางคนอยากประดิษฐ์สิ่งของเล็กๆ น้อยๆ เป็นงานอดิเรก หรือของ D.I.Y ซึ่งที่กล่าวมามักมีเรื่องของงานสีเข้ามาข้องเกี่ยว บางครั้งอาจต้องใช้สีสเปรย์เพื่อแต่งแต้มสีสัน เพิ่มความสวยงามให้กับชิ้นงาน ดังนั้น เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สีสเปรย์ เพื่อให้ได้ใช้สีสเปรย์ได้อย่างถูกต้อง มีความปลอดภัย และผลลัพธ์ที่ตรงกับที่คาดหวัง

บทความนี้ ทาง TOA ได้รวบรวมคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการใช้สีสเปรย์มาไว้มากมาย เพื่อเป็นความรู้ ให้เกิดความเข้าใจในการใช้สีสเปรย์ ไม่ว่าจะเป็นวิธีพ่นสีสเปรย์ พ่นสีสเปรย์กี่นาทีถึงจะแห้ง? สีสเปรย์สามารถพ่นลงบนพื้นผิวอะไรได้บ้าง? สีสเปรย์พ่นพลาสติกได้ไหม? พร้อมตอบให้กับทุกคำถาม ไปดูกันเลย

สีสเปรย์ตัวช่วยที่ทำให้งานช่างสะดวกขึ้นได้ง่ายๆ คืออะไร

สีสเปรย์ตัวช่วยที่ทำให้งานช่างสะดวกขึ้นได้ง่ายๆ คืออะไร

สีสเปรย์ หรือสีพ่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะบรรจุสีในภาชนะใต้แรงดันก๊าซ เวลาใช้งานสีจะถูกปล่อยมาจากภาชนะจากการเกิดแรงดันก๊าซภายใน ผ่านหัวฉีดสเปรย์ด้วยการกดหัวสเปรย์ สีจะพุ่งออกมาเป็นละอองฝอยขนาดเล็ก จุดประสงค์ในการใช้งานนั้นสามารถทำได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานอาร์ต ตกแต่งบ้าน ตกแต่งพื้นผิว หรืองานประดิษฐ์ต่างๆ เพราะสีสเปรย์ใช้งานง่าย สามารถพ่นทับบนพื้นผิวได้หลายชนิด ทั้งแบบโลหะ เหล็ก ไม้ รวมถึงพลาสติก

ทุกคนสามารถพ่นสีสเปรย์ได้ด้วยตัวเองได้ง่ายๆ เพื่อให้ได้งานศิลปะต่างๆ ออกมา แต่ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน ดังนั้น การหาข้อมูลเกี่ยวกับสีสเปรย์จึงเป็นเรื่องสำคัญ เช่น วิธีพ่นสีสเปรย์ เพราะแม้ว่าจะไม่ถนัดงานศิลปะ แต่หากเข้าใจวิธีพ่นสีสเปรย์ก็สามารถพ่นสีออกมาให้ดูดีได้

มีส่วนผสมอะไรบ้าง

สีสเปรย์มีหลายชนิดแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์การใช้งาน ดังนั้น ส่วนผสมก็จะต่างกันไปด้วย ส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบหลักทั่วไปที่เหมือนกัน แต่ส่วนที่แตกต่างกันจะเป็นพวกสารที่ทำให้เกิดสี โดยสารที่ทำให้เกิดสีจะมี เม็ดสีสังเคราะห์ และผงโลหะต่างๆ โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้
  • อะคริลิค (Acrylic)
  • ไซลีน (Xylene)
  • โปลีเอสเตอร์เรซิ่น (Polyester Resin)
  • ไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide)
  • ตัวทำละลาย (Heavy Aromatic Solvent Naphtha)
  • Alkylated Melamine Formaldehyde Resin

สีสเปรย์มีกี่แบบ เลือกใช้อย่างไรให้เหมือนช่างมืออาชีพ

สีสเปรย์มีกี่แบบ เลือกใช้อย่างไรให้เหมือนช่างมืออาชีพ

สีสเปรย์มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ทั้งแบบพ่นพลาสติก พ่นเหล็ก พ่นไม้ และพ่นรถยนต์ ซึ่งในแต่ละพื้นผิวจะส่งผลต่อความติดทนของสีที่พ่นด้วย ดังนั้น จึงควรหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับพื้นผิวที่เราต้องการใช้งาน เพราะจะช่วยให้การทำงานของสีเกิดประสิทธิภาพที่ดี นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงมาตรฐาน และความทนทานในการใช้งานด้วย โดยสีสเปรย์มี 4 แบบ ดังนี้


1. สีสเปรย์พ่นเหล็กหรือโลหะ

พ่นได้ทั้งเหล็ก หรือโลหะ เพื่อกันสนิม และเพิ่มความคงทน แต่ควรพ่นสีรองพื้นก่อนทุกครั้ง เพื่อให้สีติดทนได้นานขึ้น

2. สีสเปรย์พ่นรถยนต์

งานสีสำหรับรถยนต์ที่ต้องมีคุณภาพสูง มีความทนทาน และสีไม่หลุดได้ง่ายๆ

3. สีสเปรย์พ่นพลาสติก

พ่นบนพลาสติกได้ทุกชนิด ทั้งพลาสติกแข็ง และอ่อน แต่ควรพ่นสีรองพื้นก่อนทุกครั้ง เพื่อให้สีติดทนได้นานขึ้น

4. สีสเปรย์อเนกประสงค์

สำหรับงานประดิษฐ์ชิ้นเล็กๆ น้อยๆ หรือว่าจะเป็นชิ้นงานอื่นๆ

รวบรวมคำถาม สีสเปรย์พ่นอะไรได้บ้าง พ่นอย่างไรให้ติดทน

รวบรวมคำถาม สีสเปรย์พ่นอะไรได้บ้าง พ่นอย่างไรให้ติดทน

โดยปกติแล้วหากไม่มีความรู้ในเรื่องสีสเปรย์เลย ไม่รู้ว่าแบบไหนใช้กับพื้นผิวแบบไหน ทุกคนสามารถดูได้ที่ฉลากบรรจุภัณฑ์ แต่สำหรับข้อมูลอื่นๆ ที่สงสัย ทาง TOA ได้รวบรวมคำถามยอดฮิตที่ถามกันเข้ามาทางอินบ็อกซ์ และช่องทางต่างๆ มาไว้ตรงนี้แล้ว โดยจะมีคำถามหลักๆ ดังนี้

1. สีสเปรย์พ่นพลาสติกได้ไหม?

สีสเปรย์สามารถพ่นบนพลาสติกได้ แต่ควรมีการพ่นสีรองพื้นก่อนพ่นสีจริงทับเสมอ เพื่อให้สีติดทนทานมากขึ้น ไม่หลุดลอกได้ง่าย โดยทาง TOA มีกลุ่มสีรองพื้นให้เลือกอยู่หลายตัวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น TOA Spray สีสเปรย์รองพื้นพลาสติกเบอร์ 63, WIN สีสเปรย์รองพื้นพลาสติก เบอร์ 263 , KOBE สีสเปรย์พื้นพลาสติก เบอร์ 263 ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสีสเปรย์รองพื้นสำหรับพื้นผิวพลาสติกโดยเฉพาะ ไม่ต้องเป็นห่วงว่าสีจะหลุดลอกง่าย เพราะสีสเปรย์ของ TOA มีความทนทาน ยึดเกาะกับพื้นผิวได้เป็นอย่างดี แถมยังแห้งเร็ว ไม่ต้องรอสีแห้งนาน

2. สีสเปรย์พ่นรถยนต์ได้ไหม

สีสเปรย์สามารถพ่นที่รถยนต์ได้ โดยสามารถดูที่ข้างบรรจุภัณฑ์ได้ว่าเป็นสีสเปรย์สำหรับรถยนต์หรือไม่ ซึ่งในการใช้สีสเปรย์พ่นพื้นผิวรถยนต์จะต้องใช้สีสเปรย์ที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้สียึดเกาะกับรถได้ดี ทาง TOA ผลิตภัณฑ์สำหรับพื้นผิวรถยนต์โดยเฉพาะ คือ ทีโอเอ สีสเปรย์ สำหรับรถยนต์ ที่มีความทนทาน โดยผลิตจากหัวเชื้อที่มีคุณภาพสูง แถมยังแห้งเร็วอีกด้วย

3. สีสเปรย์พ่นเหล็กกับไม้ใช้แบบเดียวกันหรือเปล่า?

สำหรับงานประดิษฐ์ สาย D.I.Y หรือทำของกระจุกกระจิกเป็นของขวัญในโอกาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานไม้ พลาสติก หรือเหล็ก สามารถเลือกใช้ สีสเปรย์อเนกประสงค์ได้เลย ซึ่งทาง TOA นั้น มีให้เลือกกันถึง 3 แบบ ไม่ว่าจะเป็น TOA Spray สีสเปรย์อเนกประสงค์ คุณภาพสูง มีความทนทาน เงางาม ยึดเกาะได้ทุกพื้นผิว, WIN สีสเปรย์อเนกประสงค์ แห้งเร็ว และมีความคงทน, KOBE สีสเปรย์อเนกประสงค์ เป็นสีสเปรย์เกรดประหยัด หากมีงบจำกัด ตัวนี้จะตอบโจทย์มาก ซึ่งมีคุณสมบัติที่แห้งเร็ว

4. ก่อนพ่นสีเหล็กต้องลงรองพื้นหรือไม่

หากต้องการพ่นพื้นผิวที่เป็นเหล็ก หรือโลหะ ควรมีการพ่นรองพื้นก่อนเสมอ โดยทาง TOA มีผลิตภัณฑ์กลุ่มสีรองพื้นเพื่อกันสนิมให้เลือกถึง 3 เกรดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น TOA Spray สีสเปรย์รองพื้นกันสนิมเบอร์ 31, WIN สีสเปรย์รองพื้นกันสนิมเบอร์ 267 , KOBE สีสเปรย์รองพื้นกันสนิมเบอร์ 909 การใช้สีสเปรย์รองพื้นก่อนลงสีจริงจะช่วยให้สีติดทนนานมากขึ้น ใช้งานได้นาน ช่วยกันสนิม โดยเฉพาะที่ผลิตจากหัวเชื้อแล็กเกอร์ สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก และสีสเปรย์ของ TOA นั้นแห้งเร็ว ไม่ต้องกังวลเลยว่าพ่นไปแล้วต้องรอสีสเปรย์กี่นาทีถึงจะแห้ง แถมสีสเปรย์ของ TOA มีความคงทน ยึดเกาะพื้นผิวได้เป็นอย่างดี ชิ้นงานใช้งานได้นาน

5. วิธีพ่นสีสเปรย์ ให้ติดทนนาน สามารถทำได้อย่างไร

  1. เตรียมพื้นผิว
    ขั้นตอนแรกก่อนที่จะทำการพ่นสี คือต้องเตรียมพื้นผิวให้มีความพร้อมก่อน สีจะได้ติดทนและมีความสวยงาม ซึ่งการเตรียมพื้นผิวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชิ้นงานใหม่ที่ไม่เคยผ่านการทำสี และชิ้นงานเก่าที่เคยทำสีมาแล้ว
    • ชิ้นงานใหม่ ไม่เคยผ่านการทำสี : ชิ้นงานใหม่ที่ไม่เคยผ่านการทำสีมาก่อน ส่วนใหญ่จะมีความเรียบเนียนอยู่แล้ว แต่ควรทำความสะอาดคราบสกปรก คราบฝุ่น และคราบไขออกก่อน ด้วยการขัดด้วยผงซักฟอก และล้างออกด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด หลังจากนั้นใช้กระดาษทรายน้ำเบอร์ละเอียดขัดปรับพื้นผิวอีกรอบ ให้มีความเรียบเนียนมากขึ้น
    • ชิ้นงานผ่านการทำสีมาแล้ว : สำหรับชิ้นงานเก่าที่เคยผ่านการทำสีมาแล้ว ก็ล้างทำความสะอาดด้วยสบู่ หรือผงซักฟอกให้สะอาดเหมือนเดิม ในกรณีที่พ่นทับงานสีเก่า ต้องใช้กระดาษทรายขัดเพื่อปรับพื้นผิว แต่ไม่ต้องขัดถึงชั้นรอยต่อ ที่สำคัญควรระวังไม่ขัดจนลึกเกินไป ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการพ่นเฉพาะจุดที่เป็นรอยถลอก หรือพ่นซ่อม หลังจากที่ทำความสะอาดชิ้นงานแล้ว ให้ใช้กระดาษทรายขัดจุดที่ถลอกให้กว้างจากรอยเดิม 5-10 ซม. เพื่อเตรียมพ่นงานใหม่
  2. อ่านวิธีใช้ และพ่นให้ถูกวิธี
    สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยใช้สีสเปรย์มาก่อน ควรอ่านวิธีใช้ และวิธีการพ่นก่อนเสมอ เพื่อที่จะได้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญให้ลองพ่นกับวัสดุอื่นๆ ก่อน จะได้รู้น้ำหนักของสี และน้ำหนักการพ่นตัวเอง เมื่อถึงเวลาพ่นจริงสีจะได้มีความสม่ำเสมอ ไม่เป็นรอยด่าง ซึ่งการพ่นที่ถูกต้องควรตั้งกระป๋องเอียงไม่เกิน 45 องศา เพื่อให้หัวพ่นกระจายสีออกมาได้อย่างสม่ำเสมอ

  3. เขย่ากระป๋องก่อนใช้งาน
    สีสเปรย์เมื่อวางทิ้งไว้ ไม่ได้ใช้งานนานๆ สีมักจะนอนก้น ทำให้พ่นไม่ออก ดังนั้น ก่อนจะใช้งานควรเขย่ากระป๋องก่อนทุกครั้ง 1-2 นาที เพื่อให้สีเข้ากันดีทั่วทั้งกระป๋อง
  4. พ่นสีรองพื้นก่อนเสมอ
    การพ่นจริงควรลงสีรองพื้นก่อนเสมอ เพราะช่วยให้กลบสีได้มิด ปิดงานได้เนียนมากขึ้น ที่สำคัญหากชิ้นงานเป็นเหล็ก การพ่นสีรองพื้นแบบกันสนิม จะช่วยให้ชิ้นงานมีความทนทานมากขึ้น
  5. พ่นสีสเปรย์ให้ห่างจากพื้นผิวอย่างน้อย 1 ฟุต
    การพ่นสีสเปรย์ควรพ่นแบบโปรย ให้สีกระจายไปทั่วบริเวณชิ้นงาน เมื่อแห้งแล้วค่อยพ่นทับใหม่ และอย่ากดหัวพ่นแช่นานๆ เพราะจะทำสีไม่สม่ำเสมอ เป็นรอยด่าง ที่สำคัญควรให้กระป๋องสเปรย์ห่างพื้นผิวอย่างน้อย 1 เมตร สีจะได้ไม่ไหลเยิ้ม
  6. พ่นอย่างน้อย 2 รอบ
    การพ่นสีสเปรย์ควรพ่นอย่างน้อย 2 รอบ เพื่อให้สีปกปิดชิ้นงานสม่ำเสมอทั่วทั้งชิ้น โดยในรอบแรกพ่นโปรยบางๆ ให้ทั่วชิ้นงาน แม้จะยังมีจุดที่ไม่โดนสีบ้างก็ไม่เป็นไร ทิ้งไว้ให้สีแห้งประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นก็เริ่มพ่นรอบที่ 2 หลังจากพ่นรอบที่สองแล้ว สียังไม่สม่ำเสมอทั่วชิ้นงาน สามารถพ่นรอบที่ 3 ได้ ขึ้นอยู่ที่ความเหมาะสม แต่ควรระวังไม่พ่นจี้เฉพาะจุดมากเกินไป เพราะจะทำให้สีไหลเยิ้ม ไม่เรียบเนียน
  7. พ่นแล็กเกอร์เคลือบเงา
    หลังจากใช้สีสเปรย์พ่นเรียบร้อยแล้ว ทิ้งไว้ 30 นาที ให้สีแห้ง หลังจากนั้นก็ลงแล็กเกอร์เคลือบเงา เพื่อให้ชิ้นงานมันวาว มีความสวยงาม โดยควรลงแล็กเกอร์ ประมาณ 2-3 รอบ เพื่อให้ได้งานที่ขึ้นเงา เป็นฟิล์มสีที่สวยงาม

6. สีสเปรย์กี่นาทีแห้ง

การพ่นสีสเปรย์แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรก คือ พ่นสีก่อนอย่างน้อย 2 รอบ เพื่อให้สีสม่ำเสมอกัน โดยก่อนจะพ่นสีรอบที่ 2 จะทิ้งระยะก่อนประมาณ 10 นาที แล้วค่อยพ่นสีรอบที่ 2 ซึ่งหากรอบที่ 2 สียังมีความไม่สม่ำเสมออยู่ ก็สามารถพ่นรอบที่ 3 ได้ โดยเว้นไว้ให้สีแห้งก่อน 10 นาทีเช่นกัน

ขั้นตอนต่อมา เมื่อพ่นสีสเปรย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว เวลาที่สีสเปรย์จะแห้งสนิทจะอยู่ที่ 30 นาที ก่อนลงแล็กเกอร์เคลือบเงา 2-3 รอบ และทิ้งระยะไว้ให้แห้งอีกประมาณ 30 นาที

7. เก็บรักษากระป๋องสีสเปรย์ยังไง ให้ไม่แห้งใช้ได้นาน

หลายคนเมื่อใช้สีสเปรย์สร้างผลงานของตัวเองเรียบร้อยแล้ว อาจมีสีสเปรย์เหลืออยู่บ้าง ซึ่งสามารถเก็บไว้ใช้งานในครั้งหน้าได้ จึงควรเก็บรักษากระป๋องสีสเปรย์ไว้ให้ดี เพื่อให้คงประสิทธิภาพเอาไว้ ดังนี้

  • จัดเก็บในภาชนะบรรจุให้สนิท และเก็บในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
  • ไม่เก็บในสถานที่ที่มีอุณหภูมิที่สูง เช่น โรงรถ หรือบนรถยนต์
  • เลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง ไม่วางไว้กลางแจ้ง
  • เก็บให้ห่างจากวัตถุไวไฟ เช่น ไฟแช็ก หรือเตาไฟ

การคำนวณจำนวนพื้นผิวต่อปริมาณสีสเปรย์ในการใช้งาน

การคำนวณจำนวนพื้นผิวต่อปริมาณสีสเปรย์ในการใช้งาน

การคำนวณจำนวนพื้นผิวเพื่อคิดปริมาณสีสเปรย์ในการใช้งาน จะเป็นประโยชน์มากสำหรับงานใหญ่ๆ ที่ต้องมีการทำงบประมาณเพราะถ้าไม่คำนวณ ซื้อมาเยอะเกินไป ต้นทุนก็จะกระจุกตัวอยู่ที่สี ทำให้สีเหลือเยอะ หรือถ้าซื้อมาน้อย แต่ใช้จริงมากกว่าที่ซื้อ ก็จะมีการใช้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก เพราะฉะนั้น จึงต้องมีสูตรคำนวณปริมาณสีที่ต้องใช้ โดยมีสูตร ดังนี้
ขั้นตอนแรก จะต้องทราบข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้ เพื่อประมาณการใช้สี

  1. ความหนาสีแห้ง (Dry Film Thickness : DFT) หน่วย ไมครอน (Micron)
  2. พื้นที่ทั้งหมด (Area) หน่วย ตารางเมตร (Square Meters)
  3. เนื้อสีโดยปริมาตร (Solid by Volume)

การปกคลุม (Coverage) = (เนื้อสีโดยปริมาตร (Solid) x 10)/ความหนาสีแห้ง (DFT)
ยกตัวอย่างเช่น สีรองพื้นกันสนิทของ TOA

เนื้อสีโดยปริมาตร (Solid) = 55
ความหนาสีแห้ง (DFT) = 45 ไมครอน
การปกคลุม (Coverage) = 55 x 10 / 45
= 12.2 ตารางเมตร/ลิตร

หากเป็นการพ่นสีเราจะมีค่าเผื่อ Loss จากการปฏิบัติจริง อยู่ที่ 30% ของการใช้สี ให้นำ 12.2 x 0.3 = 3.66 ตารางเมตร/ลิตร ที่สูญเสียจากการทำงาน
ดังนั้นในทางปฏิบัติ = 8.54 ตารางเมตร/ลิตร

ขั้นตอนต่อไปให้นำผลลัพธ์มาคำนวณจำนวนลิตรด้วยการหารกับพื้นที่ทั้งหมด
ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ทั้งหมด = 600 ตารางเมตร

จำนวนลิตรที่ใช้ = พื้นที่ทั้งหมด/การปกคลุม
= 600/8.54
= 70.25 ลิตร

ในขั้นตอนสุดท้าย ต้องทราบ Pack Size สีของแบรนด์ที่ต้องการ โดยนำจำนวนลิตรที่ใช้/จำนวนลิตรของ Pack Size
ยกตัวอย่างเช่น ถังสีที่เราใช้ US Gallon = 3.785 ลิตร
ดังนั้น จะเป็น 70.25/3.785 = 18.56 แกลลอน
หากมีเศษ ให้เราปัดขึ้น จึงสรุปได้ว่าต้องใช้สีทั้งหมด 19 แกลลอน

อย่าลืมเรื่องความปลอดภัย เมื่อใช้สีสเปรย์ควรปฏิบัติดังนี้

อย่าลืมเรื่องความปลอดภัย เมื่อใช้สีสเปรย์ควรปฏิบัติดังนี้

สีสเปรย์สามารถส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ผิวหนัง และดวงตา ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคือง และอาการอักเสบได้ เพราะสีสเปรย์ประกอบด้วยสารที่เป็นพิษ และสารก่อมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะไซลีนที่สามารถเข้าสู้ร่างกาย และยังสามารถสะสมในเลือดได้

นอกจากส่งผลต่อร่างกายได้แล้ว ยังมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย สีสเปรย์ หรือสีพ่นนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความไวไฟ อาจเกิดไฟฟ้าสถิตขณะใช้งานได้ รวมถึงภาชนะบรรจุที่มีแรงดันอยู่ หากไม่ระวังอาจเกิดระเบิดได้ เมื่อถูกกระแทก หรือได้รับความร้อน

ดังนั้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้สีสเปรย์ และเตรียมอุปกรณ์ Safety เพื่อให้ใช้สีสเปรย์ได้อย่างปลอดภัย รวมถึงควรรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ได้รับอันตรายจากสีสเปรย์

การใช้สีสเปรย์อย่างไรให้ปลอดภัย

  • เขย่าก่อนใช้ทุกครั้งก่อนฉีด เพื่อให้ภายในขวดสเปรย์มีการกระจายตัว
  • เว้นระยะห่างที่เหมาะสมในการพ่นสีสเปรย์ โดยจะอยู่ในช่วง 20-30 เซนติเมตร
  • ห้ามโยนแรงๆ ภาชนะมีแรงดัน อาจเกิดระเบิดได้หากถูกกระแทก
  • ห้ามทิ้งลงถังขยะทั่วไป เก็บรวบรวม และส่งกำจัดให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะถือว่าเป็นขยะอันตราย ซึ่งทางกรมโรงงานบังคับให้กำจัดอย่างถูกสุขลักษณะ และต้องเป็นไปตามประกาศของกรมโรงงาน

อุปกรณ์ Safety ที่ควรเตรียมเมื่อใช้สีสเปรย์

แม้ว่าจะระวังตัวแล้ว แต่ในการใช้สีสเปรย์ หากมีอุปกรณ์ Safety ป้องกันไว้ จะทำให้การใช้สีสเปรย์นั้นมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยอุปกรณ์ Safety มีหลายแบบ เพื่อความปลอดภัยที่ต่างกัน ดังนี้
  • แว่นตา เพื่อป้องกันสี ทินเนอร์ รวมถึงฝุ่นผง และโลหะที่เกิดจากการขัดกัน
  • หน้ากากกันฝุ่น ป้องกันฝุ่นที่ลอยในอากาศ จากการขัดสีโป๊ว
  • หน้ากากป้องกันแก๊ส ป้องกันไอระเหย หรือแก๊ส
  • ชุดและหมวกช่างพ่น เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และสารเคมีให้สัมผัสผิวหนังน้อยที่สุด
  • ถุงมือผ้า ป้องกันสารเคมี หรืออันตรายจากการใช้เครื่องขัด หรือเมื่อเคลื่อนย้ายชิ้นงาน
  • ถุงมือป้องกันสารละลายถูกผิวหนังในการทำงานด้านสี
  • รองเท้าหัวเหล็ก ป้องกันไฟฟ้าสถิต

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อได้รับอันตรายจากสีสเปรย์

  • กรณีสัมผัสทางผิวหนัง ให้ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีออก แล้วล้างผิวด้วยน้ำสะอาดทันที ควรล้างในปริมาณมากๆ อย่างน้อย 15 นาที และล้างต่อด้วยสบู่ ผงซักฟอก หรือน้ำยาทำความสะอาดแล้วล้างออกด้วยน้ำ
  • กรณีสัมผัสทางตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำยาสำหรับล้างตา แต่ถ้าหากยังมีอาการระคายเคืองอยู่ ให้รีบพบแพทย์ทันที
  • กรณีสัมผัสทางการหายใจให้พาไปสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หากอาการรุนแรง อาจใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ และควรหลีกเลี่ยงการช่วยหายใจโดยการผายปอดแบบเป่าปาก และหากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้นำส่งศูนย์พยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที
  • กรณีสัมผัสทางการหายใจให้พาไปสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หากอาการรุนแรง อาจใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ และควรหลีกเลี่ยงการช่วยหายใจโดยการผายปอดแบบเป่าปาก และหากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้นำส่งศูนย์พยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที
นอกจากนี้ ผู้ที่ใช้สีสเปรย์เป็นประจำ ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะหากอยู่ในอุตสาหกรรม ที่มีการใช้สีสเปรย์หรือสีพ่นเป็นจำนวนมาก

สรุป

สีสเปรย์มีหลายรูปแบบ ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นสีสเปรย์พ่นเหล็ก หรือโลหะ สีสเปรย์พ่นรถยนต์ สีสเปรย์พ่นพลาสติก และสีสเปรย์อเนกประสงค์ ซึ่งมีการใช้พ่นในพื้นผิวที่แตกต่างกันหลายๆ คนให้ความสนใจกับการประดิษฐ์สิ่งของ หรือทำของ D.I.Y แต่เป็นมือใหม่ในการใช้สีสเปรย์ บทความนี้ได้รวบรวมคำถามที่อาจเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่สนใจไว้มากมาย ซึ่งก่อนที่จะใช้งานสีสเปรย์ควรศึกษาสีสเปรย์ต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเขย่าก่อนใช้ การพ่นสีรองพื้นก่อนเพื่อให้สีติดทน หรือกันสนิม

นอกจากนี้ ควรศึกษาวิธีพ่นสีสเปรย์ให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายที่มาจากใช้ที่ไม่ถูกต้อง เช่น การอยู่ในระยะพ่นที่ใกล้เกินไป อาจทำให้สารเคมีกระเด็นโดนผิวหนังได้ หรือการโยนภาชนะแรง อาจเกิดระเบิดหากถูกกระแทกขึ้นมา อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้สีสเปรย์ควรคำนึงถึงคุณภาพต่างๆ ความทนทานของสี ความเงางาม ไม่หลุดลอกออกง่ายๆ ซึ่งทาง TOA มีผลิตภัณฑ์สีสเปรย์ที่มีประสิทธิภาพงานสีได้อย่างดี และยังแห้งเร็ว ไม่ต้องรอนาน สามารถไปทำอย่างอื่นต่อได้ทันเวลา สะดวก สบายสุด ตอบโจทย์สุดๆ


38139 Views