ปูนเกร้าท์ ปูนนอนชริ้งคืออะไร ใช้ยังไง ตอบครบ จบทุกคำถาม! ปูนเกร้าท์ ปูนนอนชริ้งคืออะไร ใช้ยังไง ตอบครบ จบทุกคำถาม!

ปูนเกร้าท์ ปูนนอนชริ้งคืออะไร ใช้ยังไง ตอบครบ จบทุกคำถาม!

ช่างมือใหม่คงเคยได้ยินเรื่องของปูนเกร้าท์กันมาบ้าง บอกก่อนเลยว่าปูนชนิดนี้มีชื่อเรียกที่หลากหลาย อาทิ ปูนรับแรง ปูนไม่หดตัว ปูนนอนชริ้ง หรือปูนนอนชริ้งเกร้าท์ ในขณะที่ช่างบางคนเรียกว่า ปูนน้ำนม ก็มีเช่นกัน แต่ไม่ว่าจะเรียกแบบไหนก็คือปูนชนิดเดียวกันนั่นเอง วันนี้ทาง TOA มีข้อมูลดีๆ มาบอกต่อให้กับผู้ที่สนใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สารพัดชื่อตัวนี้มาให้ได้ทราบกันอย่างละเอียด รีบตามมาดูกันดีกว่าว่า ปูนเกร้าท์คือ อะไร มีคุณสมบัติเป็นอย่างไร และมีวิธีใช้งานแบบไหนบ้าง

ปูนเกร้าท์คืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร

ปูนเกร้าท์คืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร

ปูนเกร้าท์ หรือ ปูนนอนชริ้งเกร้าท์ เป็นปูนสำเร็จรูปผสมพิเศษ ที่นำมาผสมกับน้ำเปล่าตามอัตราส่วน แล้วนำไปใช้งานได้ในทันที โดยตัวปูนมีผสมส่วนประกอบต่างๆ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ทรายคัดเกรด และสารเคมีเฉพาะ จึงให้กำลังอัดสูงได้ในทั้งระยะต้น และในระยะปลาย แถมยังมาพร้อมคุณสมบัติในการใช้งานอีกมากมาย ดังนี้

  • มีประสิทธิภาพในการไหลตัวที่ดี สามารถแทรกตัวเข้าสู่ซอกมุมต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม
  • ไม่เกิดการแยกชั้น แยกตัว และไม่มีน้ำเยิ้มบนผิวหน้า
  • เมื่อปูนเซ็ตตัวและแห้งจะไม่เกิดการหดตัว
  • ทนต่อแรงกระแทกและแรงสั่นสะเทือนได้ดี

ปูนเกร้าท์ใช้ทำอะไรได้บ้าง

ปูนเกร้าท์ใช้ทำอะไรได้บ้าง

คุณสมบัติในการรับแรงสั่นสะเทือนที่ดีของปูนเกร้าท์ทำให้ปูนชนิดนี้เหมาะอย่างยิ่งกับการนำไปใช้ในงานที่ต้องรับน้ำหนักเยอะ หรืองานที่จำเป็นต้องเจอแรงสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งประเภทงานดังกล่าวนั้นเป็นงานที่คอนกรีตธรรมดา ไม่สามารถรับแรงได้โดยที่คอนกรีตไม่เสียหายหรือแตกร้าว นอกจากนี้ คุณสมบัติในการไหลตัวยังทำให้ปูนเกราท์เหมาะใช้ในงานที่มีพื้นที่เป็นซอกมุมหรือรูโพรงอีกด้วย ตัวอย่างงานที่เหมาะ อาทิ

  • งานเทฐานเครื่องจักร
  • งานเทฐานเสาลานจอดรถและฝังเสารั้ว
  • งานเทฐานรองคานสะพาน
  • งานเทยึดติดเสาเหล็กและเสาคอนกรีต
  • งานเทซ่อมรอยต่อแผ่นคอนกรีต
  • งามซ่อมรูโพรง

6 ข้ันตอนใช้ปูนเกร้าท์แบบช่างมืออาชี

6 ข้ันตอนใช้ปูนเกร้าท์แบบช่างมืออาชีพ

เมื่อทราบประโยชน์ของปูนเกร้าท์ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายแบบแล้ว ก็มาถึงวิธีการใช้งานอันแสนง่ายดาย ทำได้เอง แถมยังได้ผลลัพธ์เสมือนมืออาชีพอีกด้วย ขั้นตอนทั้งหมดจะเป็นอย่างไร ตามมาดูกัน

ขั้นตอนที่ 1: เลือกประเภทของปูนเกร้าท์

สิ่งแรกที่จำเป็นต้องทราบก่อนลงมือใช้งานปูนเกร้าท์หรือปูนนอนชริ้ง คือ การเลือกประเภทของปูนชนิดนี้ให้เหมาะสมกับตัวงาน โดยเริ่มจากการเลือกปูนเกราท์ที่มีค่ารับกำลังอัดเหมาะสมกับงานหรือพื้นที่ใช้งาน ซึ่งจะมีหน่วยเป็น KSC (Kilogram Per Square Centimeter แปลว่า กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ) หรือ กก/ตร.ซม. ยกตัวอย่างเช่น  TOA GROUT GP สามารถรับกำลังอัดได้สูง มากกว่า 700 กก./ตร.ซม. หมายถึง จะต้องใช้น้ำหนักมากกว่า 700 กิโลกรัมกดลงในแนวดิ่งเพื่อทำให้ TOA GROUT GP พื้นที่ 1 ตร.ซม. พังลง อย่างไรก็ตาม ค่ารับกำลังอัดจะเพิ่มขึ้นจากการบ่มตัวตามจำนวนวัน อาทิ หลังจาก 24 ชม. ในการเท TOA GROUT GP จะมีค่ารับกำลังอัดมากกว่า 300 KSC เมื่อบ่มไป 7 วัน จะมีค่ารับกำลังอัดมากกว่า 500 KSC  และเมื่อบ่มจนครบ 28 วันจะมีค่ารับกำลังอัดมากกว่า 700 KSC ซึ่งเป็นค่ารับกำลังอัดสูงสุดที่ระบุไว้นั่นเอง

เพื่อครอบคลุมการใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพ ขอแนะนำให้เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ ทีโอเอ เกร๊าท์ จีพี ที่มีค่ารับกำลังอัดสูงกว่า 700 KSC และยังมาพร้อมคุณสมบัติในการไหลตัวอย่างดีเยี่ยม สามารถปรับระดับได้เอง ผิวหน้าไม่เยิ้มน้ำ ไม่ตกตะกอน และไม่มีส่วนผสมของคลอไรด์ จึงหมดกังวลเรื่องโครงสร้างคอนกรีตสึกกร่อน ไม่เพียงเท่านั้น วิธีการใช้งานยังแสนง่าย พร้อมใช้แบบสำเร็จรูป

ขั้นตอนที่ 2: คำนวณปริมาณปูนเกร้าท์

ปริมาณการใช้งานนั้นปกติจะนับกันเป็น “คิว”หรือ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะคำนวณจาก ความกว้าง(เมตร) x ความยาว(เมตร) x ความหนา(เมตร) โดยปกติแล้วปริมาณการใช้จะขึ้นอยู่กับคำแนะนำของผู้ผลิตแต่ละราย ยกตัวอย่างเช่น ปริมาณการใช้งานของ ทีโอเอ เกร๊าท์ จีพี คือ 1,950  กิโลกรัม (78 ถุง x 25 กก.) สำหรับการเท 1 ลูกบาศก์เมตร การคำนวณจำนวนปูนให้เหมาะสมกับพื้นที่การใช้งานนั้น จึงสามารถคำนวณได้จากสูตร  

ความกว้าง(เมตร) x ความยาว(เมตร)  x ความหนา(เมตร)  x ปริมาณที่ผู้ผลิตแนะนำ(กก./ลบ.ม.)

อาทิ หากพื้นที่นั้นมีขนาด กว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร หนา 0.4 เมตร ก็จะใช้ทีโอเอ เกร๊าท์ จีพี ทั้งหมด(2x3x0.4x1,950) = 4,680 กิโลกรัม ซึ่งมาจากการคำนวณนั่นเอง

ขั้นตอนที่ 3: เตรียมพื้นที่งาน

หลังจากเลือกใช้ปูนนอนชริ้งเกร้าท์ที่มีคุณภาพ พร้อมคำนวณปริมาณในการใช้ได้แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนลงมือปฏิบัติ โดยเริ่มจากการทำความสะอาดพื้นที่นั้นๆ ไม่ให้มีเศษผง เศษฝุ่น คราบมัน หรือคราบจาระบีต่างๆ โดยสามารถเลือกใช้ทินเนอร์เป็นตัวช่วยทำความสะอาดได้ จากนั้นสามารถพรมน้ำให้ชุ่มก่อนลงมือเทปูนชนิดนี้ได้ แต่ห้ามมีจุดน้ำขัง ทั้งนี้ สำหรับการใช้งานแบบเทรองฐานต่างๆ ควรติดตั้งไม้แบบก่อนลงมือทำงาน โดยติดตั้งไม้แบบให้มั่นคง ไม่ให้เกิดช่องว่าง และติดตั้งให้สูงกว่าระดับที่จะเท

ขั้นตอนที่ 4: ผสมปูนเกร้าท์ให้เนียน

ผสมเนื้อปูนกับน้ำสะอาดตามอัตราส่วนข้างถุง จากนั้นปั่นให้เนื้อเนียนด้วยสว่าน สำหรับทีโอเอ เกร๊าท์ จีพี ให้ผสมในอัตรา 1 ถุงต่อน้ำเปล่า 3.75 ลิตร ปั่นด้วยสว่านรอบความเร็วต่ำบนน้ำเปล่าก่อน แล้วจึงเทปูนเกร้าท์ลงไปให้หมดทั้งถุง ปั่นต่อเนื่องไปอีกประมาณ 3 นาที จนได้เนื้อปูนที่เนียนสวย ไม่เป็นเม็ด ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที เพื่อไล่ฟองอากาศให้ออกไป เป็นอันเรียบร้อบ ทั้งนี้ แนะนำให้ใช้เครื่องปั่นหรือสว่านในการผสมปูนเสมอ เพราะหากใช้เพียงแค่มือในการผสมปูน อาจทำให้เนื้อปูนไม่ผสมกับน้ำอย่างเต็มที่ และส่งผลให้เกิดการหลุดร่อนได้ในภายหลัง

ขั้นตอนที่ 5:  เทปูนเกร้าท์ให้สม่ำเสมอ

หลังจากผสมทีโอเอ เกร๊าท์ จีพี พร้อมแล้ว ให้เริ่มเทปูนลงไป โดยเทจากด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น และต้องเทด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอ ต่อเนื่องกัน เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างของเนื้อปูน หรือฟองอากาศภายใน ในส่วนของฟองอากาศที่ลอยขึ้นมาที่ผิวหน้านั้นจะหายไปเองเมื่อทิ้งไว้แต่จะต้องเทภายในระยะเวลาที่แนะนำ หลังผสมแล้วไม่ควรปล่อยปูนเกร้าท์ทิ้งไว้นานเกินระยะเวลาที่แนะนำเพราะปูนจะเริ่มเซ็ตตัวทำให้การไหลตัวลดลงจนเทเข้าแบบไม่ได้  

ขั้นตอนที่ 6: รอให้ปูนเกร้าท์เซ็ตตัว

รอให้ปูนเซ็ตตัว ซึ่งใช้ระยะเวลาการเซ็ตตัวเริ่มต้น (Initial setting time) จะอยู่ที่ 3-4 ชั่วโมง และระยะเวลาเซ็ตตัวหรือแข็งตัวสมบูรณ์ (Final setting time) จะอยู่ที่ 4-8 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของปูนเกร้าท์  ในช่วงที่รอการเซ็ตตัวหรือแข็งตัวสมบูรณ์นั้น ควรระวังไม่ให้มีการไปรบกวนแบบงานที่เทไว้ เช่น การเคาะ การกระแทก หรือการเหยียบย่ำ เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดเซ็ตตัวที่ไม่สมบูรณ์ มีรอยร้าวภายในที่มองไม่เห็นหรือแม้กระทั่งรอยร้าวที่บริเวณผิวหน้า จะส่งผลให้การรับกำลังอัดลดลง

และเพื่อให้ประสิทธิภาพของปูนเกร้าท์ดีที่สุดจะต้องทำการทิ้งไว้ให้แข็งตัวโดยสมบูรณ์ตามระยะเวลา (Curing time)  หรือในภาษาช่างจะเรียกกันว่า การบ่มปูน โดยจะบ่มด้วยน้ำเปล่า หรือบ่มด้วยน้ำยาบ่มคอนกรีตขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของหน้างาน เมื่อทำการบ่มจนครบระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างถุงแล้วปูนเกร้าท์จะสามารถรับกำลังอัดได้สูงสุดตามที่ระบุไว้


เคล็ดลับดีๆ ที่เซียนปูนเกร้าท์ขอบอกต่อ

เคล็ดลับดีๆ ที่เซียนปูนเกร้าท์ขอบอกต่อ

ปูนเกร้าท์ เป็นหนึ่งในวัสดุงานช่างชนิดพิเศษ ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องมีเทคนิคดีๆ เพื่อคงคุณภาพของปูนชนิดนี้ไว้ให้ดีที่สุด หรือเรียกได้ว่า เป็นเคล็ดลับการรักษาประสิทธิภาพในการทำงานของปูนชนิดนี้นั่นเอง ซึ่งเคล็ดลับที่ว่านั้นจะเป็นอย่างไร ก็ตามมาดูกันได้เลย

เลี่ยงแดดร้อน ลมแรง ซัลเฟต และกรด

หลีกเลี่ยงการใช้งานในบริเวณที่มีลมแรง เพื่อไม่ให้ผิวปูนสัมผัสกับลมโดยตรง และไม่ควรใช้งานในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเกินไป รวมไปถึงการเลี่ยงใช้วัสดุที่มีซัลเฟต และกรดต่างๆ เพราะปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งผลเสียต่ออายุการใช้งานของปูนชนิดนี้ได้ทั้งสิ้น

ไม่เทบางเกินไป

แม้ว่าปูนนอนชริ้งจะมีคุณสมบัติพิเศษที่แห้งแล้วไม่หดตัว แต่เพื่อการใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่ควรเทให้หนาหรือบางเกินไป ให้ยึดตามคำแนะนำของสินค้า เพราะหากเทบางเกินไปนั้น จะทำให้ไม่สามารถยึดเกาะกับเนื้อคอนกรีตได้ดี เกิดการหลุดร่อนและรับกำลังอัดได้น้อยลง แต่ถ้าหากเทหนาเกินที่กำหนดจะทำให้เกิดความร้อนสูงขณะเซ็ตตัวส่งผลให้เกิดการแตกร้าว ซึ่งความหนาที่อยากแนะนำสำหรับ ทีโอเอ กร้าท์ จีพี คือ 10-100 มิลลิเมตร แต่ถ้าหากต้องการเพิ่มความหนาสามารถทำได้โดยการแบ่งเทเป็นชั้นๆ โดยรอให้ชั้นก่อนหน้าแห้งตัวสมบูรณ์ก่อนจึงเทชั้นถัดไปจนได้ความหนาที่ต้องการเพื่อป้องกันการแตกร้าว

ไม่เทแบบปล่อยเปลือยผิว หรือซ่อมพื้นที่เปิด

เนื่องจากปูนนอนชริ้งจะมีการขยายตัวในช่วงต้น คือตั้งแต่เริ่มเทจนถึง 24 ชั่วโมง ซึ่งการเทแบบปล่อยเปลือยพื้นผิว เช่น ลานจอดรถ หรือพื้นที่เปิดขนาดใหญ่นั้นจะทำให้พื้นผิวที่ได้ไม่เรียบสม่ำเสมอ และมีการแตกร้าวที่ผิวหน้าเนื่องจากการขยายตัวแบบอิสระของผิวหน้า ต่างจากการขยายตัวในแบบซึ่งถูกควบคุมโดยขนาดของแบบที่กำหนดไว้ และที่สำคัญห้ามนำปูนนอนชริ้งไปใช้แทนปูนปรับระดับโดยเด็ดขาด เพราะปูนนอนชริ้งไม่สามารถปรับพื้นผิวเปลือยให้เรียบสม่ำเสมอได้ตามเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น

สรุปว่าปูนเกร้าท์ ปูนนอนชริ้ง หรือปูนนอนชริ้งเกร้าท์ คือปูนผสมสำเร็จรูปที่มีคุณสมบัติในการไหลตัวดี เข้าสอดแทรกได้ครบทุกซอกทุกมุม ไม่หดตัว และรับแรงสั่นสะเทือนได้ จึงเหมาะกับงานที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น งานฐานเครื่องจักร งานซ่อมรูโพรง งานรอยต่อแผ่นคอนกรีต เป็นต้น ส่วนวิธีใช้ก็ง่ายๆ เพียงแค่เลือกปูนเกร้าท์คุณภาพดี นำมาผสมกับน้ำตามอัตราส่วนข้างถุง และเทลงแบบที่เตรียมไว้ จากนั้นบ่มปูนให้เซ็ตตัว เท่านี้ก็พร้อมใช้งานได้เลย

คำถามที่พบบ่อย

ปูนเกร้าท์กับคอนกรีตต่างกันอย่างไร

ต่างกันที่คุณสมบัติในการใช้งาน เนื่องจากคอนกรีตมีส่วนประกอบ คือ ปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ ส่งผลให้เมื่อแห้งแล้วจะเกิดการหดตัวขึ้น ทำให้ไม่สามารถไหลตามซอกมุมได้ดีเท่ากับปูนเกร้าท์ ที่มีส่วนผสมคัดเกรด และสารเฉพาะเพิ่มเข้ามา ช่วยให้ลื่นไหลไปตามซอกมุมได้ดีขึ้น และไม่หดตัวเมื่อแห้ง รวมถึงมีกำลังอัดที่สูงกว่าคอนกรีต โดยอยู่ที่ 300-800 KSC นั่นเอง

ปูนเกร้าท์ 1 คิว ใช้กี่ถุง

สำหรับงานที่ต้องใช้ปูนเกร้าท์ในพื้นที่ 1 คิวนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของปูนเกร้าท์ ตามที่ผู้ผลิตแนะนำ


52325 Views